ชื่อบทความ: | การพัฒนาองค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรมสำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ |
Research Article: | Development of Components and Behavioral Indicators of Communication Skills in Pharmacy Practice |
ผู้เขียน/Author: | เสถียร พูลผล, ขนิษฐา สาลีหมัด, เฉลิมศรี ภุมมางกูร, จิตรา ดุษฏีเมธา | Sathian Phunpon, Khanittha Saleemad, Chalermsri Pummangura, Jitra Dudsdeemaytha |
Email: | sathian.phu@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่ | วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 28 ฉบับเพิ่มเติม 1, กรกฎาคม – สิงหาคม 2562 |
การอ้างอิง/citation,
เสถียร พูลผล, ขนิษฐา สาลีหมัด, เฉลิมศรี ภุมมางกูร และ จิตรา ดุษฏีเมธา. (2562). การพัฒนาองค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรมสำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28, S166-S176.
บทคัดย่อ
บทบาทของเภสัชกรในฐานะเป็นผู้สื่อสารที่ให้ข้อมูลด้านยาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วย ได้รับการยอมรับว่าเป็นบทบาทสำคัญของวิชาชีพ การศึกษาเภสัชศาสตร์จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ โดยการจัดเตรียมนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารที่ดี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดองค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรมสำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงเอกสารกระบวนการวิจัยมี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) ศึกษาสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับทักษะการสื่อสารทางวิชาชีพเภสัชกรรมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน (2) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสารและการวิเคราะห์เนื้อหา (3) ตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน และ (4) วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบของทักษะการสื่อสารทาง เภสัชกรรมมี2 องค์ประกอบได้แก่ ทักษะการสื่อสารเพื่อการดูแลแบบเน้นผู้ป่ วยเป็นศูนย์กลาง และทักษะการสื่อสารแบบอวัจนภาษา โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารจำนวน 12 ข้อ (2) ผลการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา พบว่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย 0.98 และ (3) ผลตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบัคเท่ากับ 0.96 แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้สถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะการสื่อสารของนักศึกษาในการเรียนการสอนและการฝึกงานต่อไปได้
คำสำคัญ: ทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรม, นิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์
Abstract
The role of the pharmacist as a communicator of drug information and advice between patients and the community is recognized as a vital role of a pharmacist. Pharmacy education is changing to reflect this role, and capable of equipping students with the necessary knowledge and skills for effective communication. The objectives of this research were to synthesize the components and behavioral indicators of communication skills in pharmacy practice (CSP) for pharmacy students and to qualify the components and behavioral indicators that were created by researcher. It was conducted under a qualitative and documentary research in 4 phases: (1) studying of circumstances and problems toward CSP by in-depth interview of 10 experts, ( 2) studying the related documents and research for synthesizing the components and behavioral indicators of CSP by documentary research and content analysis, (3) the assessment of qualified components and behavioral indicators of CSP by 10 experts, and (4) the reliability test of the instrument by cronbach’s alpha coefficient. The result were as follows: (1) two components of CSP were identified, namely, patient-centered communication skills and non-verbal communication skills which included twelve items of behavioral indicators of CSP, (2) the score of content validity of research instrument was 0.98, and (3) the instrument reliability coefficient was 0.96. In conclusion, pharmacy education organizations may further apply this tool to assess the communication skills of their students for learning and apprentice.
keywords: pharmacy practice communication skills; pharmacy student.
การพัฒนาองค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรมสำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ / Development of Components and Behavioral Indicators of Communication Skills in Pharmacy Practice
Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand
Related:
- Development of Nanoemulsions containing coconut oil with mixed mulsifiers: Effect of mixing speed on physical properties
- Optimal vancomycin dosing regimens for critically ill patients with acute kidney injury during continuous renal replacement therapy: A Monte Carlo simulation study
- การใช้โคโลนีสติมิวเลตทิงแฟกเตอร์ในภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำ
- การทบทวนข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับโรคและการรักษาพาร์กินสัน
- Doripenem dosing regimens in Asian critically ill patients with continuous real replacement therapy
- Doripenem dosing in Asian critically ill patients with continuous renal replacement therapy
- แนวทางการรักษาภาวะย่อยอาหารผิดปกติไร้เหตุทางกายสำหรับเภสัชกรชุมชน
- การวิเคราะห์ความถูกต้องของคำสั่งใช้ยา:การปรับขนาดยา
- การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม
- Design and characterisation of electrospun shellac-polyvinylpyrrolidone blended micro/nanofibres loaded with monolaurin for application in wound healing
- การศึกษานำร่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิชาชีพเภสัชกรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
- General Knowledge for Pharmacists in Children Hematopoietic Stem Cell Transplantation