การปรับขนาดยารักษาโรคติดเชื้อ coronavirus disease 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องและได้รับการบำบัดทดแทนไต

Last modified: September 27, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การปรับขนาดยารักษาโรคติดเชื้อ coronavirus disease 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องและได้รับการบำบัดทดแทนไต
Research Article: Drug Dosing Adjustment for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Patients with Kidney Impairment and Receiving Renal Replacement Therapy
ผู้เขียน|Author: ธนิยา เจริญเสรีรัตน์ และ วีรชัย ไชยจามร | Taniya Charoensareerat and Weerachai Chaijamorn
Email: weerachai.cha@siam.edu ;  taniya.cha@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 2564 หน้า 278-291 | Thai Journal of Hospital Pharmacy Vol.3 No.3 Sep-Dec 2021 p. 278-291

การอ้างอิง|Citation

ธนิยา เจริญเสรีรัตน์ และ วีรชัย ไชยจามร. (2564). การปรับขนาดยารักษาโรคติดเชื้อ coronavirus disease 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องและได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 31(3), 278-291.

Charoensareerat T., & Chaijamorn W. (2021). Drug dosing adjustment for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in patients with kidney impairment and receiving renal replacement therapy. Thai Journal of Hospital Pharmacy, 31(3), 278-291.


บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสเกิดความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงมีภาวะการทำงานของไตที่ลดลง ดังนั้น การใช้ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ COVID-19 อาจจำเป็นต้องพิจารณาการทำงานของไตร่วมด้วย วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ รายงานกรณีศึกษา การศึกษาทางคลินิก รวมถึงข้อมูลทางคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ และพิจารณากำหนดขนาดยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง จากการสืบค้นจากฐานข้อมูล PubMed ของยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อ COVID-19 พบว่า ยังไม่มีคำแนะนำมาตรฐานในเรื่องการปรับขนาดยากลุ่มนี้ให้เหมาะสมกับการทำงานของไตในผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องจำนวนการศึกษาของยาต้านไวรัสกลุ่มนี้ที่ยังมีไม่มากนัก บทความนี้จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลและการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนะนำการปรับขนาดยาและวิธีการบริหารยา 4 ชนิดให้เหมาะสมในทางคลินิก ได้แก่ favipiravir, remdesivir, lopinavir/ritonavir และ dexamethasone โดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและลดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาการติดเชื้อ COVID-19

คำสำคัญ: COVID-19; ผู้ป่วยโรคไต; การปรับขนาดยา; การบำบัดทดแทนไต


ABSTRACT

COVID-19 infected patients typically present with vital organ impairments including kidney impairment. Therefore, renal function assessment should be concerned when anti-COVID-19 drugs are prescribed. This review was aimed to gather the pharmacokinetic studies, case reports, clinical studies and physicoche–mical properties of drug used in the COVID-19 infection and recommend drug dosing regimens in patients with renal impairment and recei–ving intermittent and continuous renal replacement therapy. A literature search was performed using PubMed. All selected publications focused on anti-COVID-19 drugs were gathered and reviewed, but no standard dosing recommendations for these vulnerable patients exist. As there are very few studies of these drugs, all previously published relevant articles were gathered. Dosing recommendations of 4 anti-COVID-19 drug, favipiravir, remdesivir, lopinavir/ritonavir and dexamethasone were then proposed with the objectives that the appropriate drug dosing and administration would enhance the efficacy and reduce a chance of occurring adverse events of anti-COVID-19 drugs.

Keywords: COVID-19; patients with renal diseases; drug dosing; renal replacement therapy


การปรับขนาดยารักษาโรคติดเชื้อ coronavirus disease 2019 (COVID-19)ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องและได้รับการบำบัดทดแทนไต | Drug Dosing Adjustment for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Patients with Kidney Impairment and Receiving Renal Replacement Therapy

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 492
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code