กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี

Last modified: November 24, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี
The enhancement of cultural tourism marketing  strategy  in  less visited areas of Singburi  province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวศรัณพร ชวนเกริกกุล
Miss Sarunporn Chuankrerkul
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ  ลักษิตามาศ
Asst.Prof. Dr.Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2561). กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Chuankrerkul S. (2018). The enhancement of cultural tourism marketing  strategy  in  less visited areas of Singburi  province. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools Siam University.


บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี และ 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานจากตัวอย่าง นักท่องเที่ยวคนไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 402 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test (One-Way ANOVA) วิเคราะห์ค่าวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ใช้เทคนิค IPA และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.7  มีช่วงอายุระหว่าง 31–40 ปี ร้อยละ 41.5 มีสถานภาพการสมรส ร้อยละ 55.5  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.2  ทำธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 29.1 มีรายได้ระหว่าง 15,001–20,000 บาท ร้อยละ 33.8 และเดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 35.6  2) นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังต่อการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากร กระบวนการบริการ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคิดเป็น 4.13  มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยคิดเป็น 2.75 ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตกอยู่ใน Quadrant I ด้านบุคลากรและด้านกระบวนการให้บริการ ตกอยู่ใน Quadrant II ด้านการส่งเสริมการตลาด ตกอยู่ใน Quadrant  III ด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว และตกอยู่ใน Quadrant  IV ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ปัจจัยการตลาดที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความสามารถในการพยากรณ์ระดับดีและเป็นที่ยอมรับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40 ขึ้นไป (χ2 /df = 2.365, GFI = 0.957, CFI = 0.974, RMR = 0.016, RMSEA = 0.058) 3) การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรีควรมีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และปรับปรุงการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ พัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ท่องเที่ยวให้น่าสนใจ เพิ่มการมีส่วนร่วมของกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว มีการพัฒนาสินค้าของที่ระลึกในรูปแบบที่น่าสนใจและติดป้ายราคา และมีป้ายบอกทางที่ชัดเจน

คำสำคัญ: การยกระดับ, ตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, นักท่องเที่ยวไทย, จังหวัดสิงห์บุรี


Abstract

The purpose of this research is to: 1) study the demographic factors of tourists that come to less visited areas of Singburi Province 2) analyze the tourist’s satisfaction and expectation toward cultural tourism marketing strategy in Singburi Province, and 3) enhance the cultural tourism marketing strategy in less visited areas of Singburi Province. This research was mixed methods of quantitative and qualitative research. 402 Thai tourist who visited Singburi were selected as the samples of this research. The research was conducted through questionnaire survey which was used as a tool to collect data. The data was analyzed by looking at the frequency, percentage, mean, and standard  deviation. The inferential statistical was Independent Samples t-test method, F-test (One-Way ANOVA) , Least Significant Difference method (LSD). The level of statistical significance of this study was 0.05, using IPA method, including confirmatory factor analysis (CFA).

The results showed that: 1) the majority of the respondents were female (64.7%), ages between 31- 40 years old (41.5%), married (55.5%), received Bachelor’s Degree (51.2%), self-employed (29.1%), average monthly income of 15,001 – 20,000 baht (33.8%), travel from Bangkok and vicinity (35.6%). 2) The majority of the respondents were expected with the overall marketing factors which included products of tourism, price, places, promotion, personnel, service process, and physical environment at high  level ( = 4.13), which the overall satisfaction is at moderate level ( = 2.75). The Tourists’ satisfaction and expectation were in Quadrant I in personnel and service process, Quadrant II in promotion or marketing communication, Quadrant III in tourism products, and Quadrant IV in price, places or channel of distribution and physical environment. The marketing-mix factors was developed in accordance with the empirical data and can be predictable at good and acceptable level passing the measurement standard of above 40 percentage. (χ2 /df = 2.365, GFI = 0.957, CFI = 0.974, RMR = 0.016, RMSEA = 0.058) 3) The enhancement of cultural tourism marketing strategy in less visited areas of Singburi Province are to; promote public relations, improve tourist attraction presentation in various approaches, create tourism officers to narrate the tourist attraction in an interesting manner, create more participations in all activities to tourists, create different design to all souvenirs with price tags, and, show a clear guidepost.

Keywords: Enhancing, Cultural tourism marketing, Thai tourist, Singburi province.


กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี|The enhancement of cultural tourism marketing  strategy  in  less visited areas of Singburi  province

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 3903
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code