Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565

Last modified: June 8, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565
Image Management of the Government of  General Prayuth Chan-o-cha From 2014 – 2022
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวสุณีชญาน์    ฉัตรบุรานนทชัย
Miss  Suneechaya Chatburanontachai
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
Assistant Professor Dr. Chanchai Chitlaoarporn
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.)
Doctor of Political Science (Government)
ภาควิชา:
Major:
การปกครอง
Government
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์
Graduate School of Political Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2565
2022
URL:
Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน:
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Journal of Roi Kaensarn Academi

การอ้างอิง|Citation

สุณีชญาน์ ฉัตรบุรานนทชัย. (2566). การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565. (ดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Chatburanontachai S. (2023). Image management of the government of  general Prayuth Chan-o-cha from 2014 – 2022. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate School of Political Science, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาบริบททางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 และ 3. พัฒนาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตบางนา เขตลาดพร้าว เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา จำนวน 400 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยวิธีการแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการศึกษา พบว่า 1) รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 พยายามสร้างภาพลักษณ์ให้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งที่อยู่ภายใต้บริบททางการเมืองทั้งในช่วงหลังการรัฐประหารและการเลือกตั้ง 2) ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การกล่อมเกลาทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ และการสื่อสารทางการเมือง ต่างมีอิทธิพลต่อการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 ได้แก่ การสร้างบรรยากาศทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เน้นถึงการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง การใช้สื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกคน และการสร้างภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

คำสำคัญ: การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมือง, รัฐบาล, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา


Abstract

The objectives of this research were:  1) to study the political context of the government of Prayuth Chan-o-cha 2014-2022; 2) to investigate the factors influencing the management of the government’s political image; 3) and to develop recommendations on the management of the government’s political image from 2014-2022. This research was a mixed method using questionnaires and semi – structured interview as research tools. The sample group were 400 people from Bang Na, Lat Phrao, Bang Khae, and Thawi Watthana districts, and collected data through accidental technics. The statistics were mean, percentage, standard deviation, and structural equation model analysis.

The results were as follows: 1) The government of Prayut Chan-o-cha 2014-2022 attempted to create an image to be accepted by the people under the political context after the coup and the election; 2) Factors included  political persuasion, authoritarian political culture,  political parties and interest groups, and political communication  which  impact the management of the government’s political image; 3) Recommendations on the management of the government’s political image from 2014 to 2022 were to create a democratic political atmosphere, emphasize the creation of political participation, and use the media to reach all citizens, and establish a government image based on the principle of good corporate governance.

Keywords: political image management,  government,  General Prayuth Chan-o-cha


การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565|Image Management of the Government of  General Prayuth Chan-o-cha From 2014 – 2022

Graduate School of Political Science, Siam University, Bangkok, Thailand