หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
นโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย Long-term Elderly Service Policy in Thailand |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวชัชชษา บุญเนียมแตง Miss Shudshasa Bunniamtang |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร Assistant Professor Dr. Chanchai Chitlaoarporn |
ระดับการศึกษา: Degree: |
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.) Doctor of Political Science |
สาขาวิชา: Major: |
การปกครอง Government |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ Graduate School of Political Science |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2565 2022 |
Published: แหล่งเผยแพร่: |
แหล่งเผยแพร่ผลงาน Journal of Roi Kaensarn Academi Vol. 8 No.10 |
การอ้างอิง|Citation
ชัชชษา บุญเนียมแตง. (2565). นโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย. (ดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
Bunniamtang S. (2022). Long-term elderly service policy in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate School of Political Science, Siam University.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุในประเทศไทย 2) นโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย 3) ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย และ 4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมนโยบายการบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปริมาณ เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุชาวไทยหลังเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling)
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุในประเทศไทย มีลักษณะของปัญหาในสองมิติ กล่าวคือ มิติแรก ปัญหาระดับปัจเจกบุคคล ประกอบด้วย ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาด้านจิตใจ และปัญหาทางด้านสังคมของผู้สูงอายุ ส่วนมิติที่สอง ปัญหาระดับโครงสร้างโดยปัญหาผู้สูงอายุได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ 2. นโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทยดำเนินการครอบคลุมใน 3 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุตลอดชีวิต การสร้างความพร้อมทางเศรษฐกิจในการดำรงชีพตราบจนสิ้นอายุขัย และ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสวัสดิการอื่นๆ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย ได้แก่ คุณลักษณะของผู้สูงอายุ ค่านิยมของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ และบทบาทของรัฐต่อผู้สูงอายุ 4. ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมนโยบายการบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย ประกอบด้วย ภาครัฐควรเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายการบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย พรรคการเมืองควรผลักดันให้นโยบายการบริการผู้สูงอายุระยะยาวของไทยเป็นวาระแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐควรมีการประเมินผลการดำเนินการแบบรายพื้นที่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: นโยบายผู้สูงอายุ, การบริการผู้สูงอายุระยะยาว, ผู้สูงอายุของไทย
Abstract
The objectives of this research were to study: 1)the problem status of the elderly after retirement in Thailand; 2) the long-term elderly service policy in Thailand; 3) factors affecting the long-term elderly service policy in Thailand; and 4) propose guidelines for promoting elderly service policies in Thailand. The research utilized mixed method which focused on quantitative research supplemented with qualitative data. The sample in the research was 400 Thai elderly people after retirement, 60 years and above, living in Bangkok and its vicinity. The research tools were questionnaires for quantitative research and interview forms for qualitative research. Statistics used in quantitative data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.) and structural equation modeling.
The results of the research were as follows: 1) The problem of the elderly after retirement in Thailand were two dimensions, the first dimension was individual level problems consisting of health, financial, mental, and social problems and the second dimension was structural level problem caused by the elderly and affected the country’s society and economy; 2) Thailand’s long-term elderly service policy implemented in 3 aspects, access to lifelong medical care for the elderly, creating economic readiness for living until the end of life, and promoting quality of life and other welfare; 3) Factors affecting Thailand’s long-term elderly service policy are characteristics of the elderly, social value in caring for the elderly, and the role of the state towards the elderly factors; and 4) Suggestions for the promotion of elderly service policies in Thailand include that The government should promote public participation in the process of elderly service policies in Thailand, political parties should advocate Thailand’s long-term elderly care policy into the national agenda, and local administrative organizations and government agencies should evaluate the implementation on an area basis to solve problems and develop solutions that are in line with the needs and expectations of the elderly.
Keywords: elderly policy, long-term elderly service, Thai elderly people
นโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย|Long-term Elderly Service Policy in Thailand
Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand