Title: A Research and Development of Professional Learning Community Management Procedure to Enhance Active Learning Competencies of Primary School Teachers: A Multiple Case-Study under The Office of Private School Education Commission
ชื่อโครงการ: การวิจัยและพัฒนากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Author: Miss Pinmook Senadisai
ชื่อผู้วิจัย: นางสาวปิ่นมุก เสนาดิสัย
Advisor: รศ. ดร.บุญมี เณรยอด – Assoc. Prof. Dr. Boonmee Nenyod
Degree: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Educational Administration
Major: ปร.ด. การบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration
Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)
Academic year: 2567 (2024)
Published: ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร TCI กลุ่ม 1 Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 9 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2567 เรื่อง ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ : สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เฃิงรุกของครูระดับประถมศึกษา ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร TCI กลุ่ม 1 Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 9 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2567 เรื่อง กระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา ในสถานศึกษาเอกชน click
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาในการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา 2) พัฒนากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา และ 3) ศึกษาผลของการนำกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ ในสถานศึกษาเอกชน จำนวน 3 แห่ง ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาด ใหญ่ กลาง และเล็ก ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด การดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา 4 ระยะดังนี้ 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา 2) การตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา 3) การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลการนำกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ และ 4) การสนทนากลุ่มเพื่อรับรองกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1.สถานศึกษาทั้ง 3 แห่ง ได้มีการนำกระบวนการชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพไปใช้ในโรงเรียนแล้วระยะหนึ่ง จุดร่วมในทั้ง 3 สถานศึกษาคือมีความต้องการจำเป็นร่วมกันในการพัฒนากระบวนการชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่มีระบบการทำงานร่วมกันระหว่างครูประจำการและครูใหม่ที่ชัดเจน และแต่ละแห่งมีความต้องการจำเป็นเฉพาะเพิ่มเติมได้แก่ ความต้องการในการพัฒนากระบวนการชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพกับการพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ การพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกันตามทฤษฎีพหุปัญญา และการสร้างนิเวศน์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมอารมณ์และสังคมของผู้เรียน
2. กระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา ที่ผ่านการพัฒนาโดยใช้หลักการ POSDC เป็นกรอบการบริหารจัดการที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดบุคลากร (Staffing) การชี้นำ (Directing) และการควบคุม (Controlling) ซึ่ง แต่ละขั้นตอนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยกระบวนการบริหารฯ มี 8 ขั้นตอน เรียกว่า “6PLC Managing Procedure with AMCS” ได้แก่ การเตรียมความพร้อม (Preparation) การตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Purpose) การวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Planning) การสร้างกลุ่มและการรวมตัวกันของครู (People) การขับเคลื่อนกระบวนการ (Process) การพัฒนาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) การสะท้อนผลการเรียนรู้ (Learning reflection) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) บนพื้นฐานการสนับสนุนของผู้บริหารในบทบาท 4 ด้าน ได้แก่ การนำทางวิชาการ (Academic Leadership) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การชี้แนะ (Coaching) การส่งเสริมสนับสนุน (Supporting)
3. ผลของการนำกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ พบว่า 1) ครูมีพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้ปัญหาและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และ 3) ผู้บริหารทั้ง 3 โรงเรียนมีเจตคติที่ดีและมีความพึงพอใจใน “กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา” นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาสมรรถนะเกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มบุคคล ระดับองค์กร และระดับเครือข่ายระหว่างองค์กร
คำสำคัญ: สมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, กระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
Abstract
This research aimed to: 1) investigate the needs of educational institutions regarding the management of Professional Learning Communities (PLCs) to enhance elementary school teachers’ competencies in active learning; 2) develop a management process for PLCs to foster elementary school teachers’ competencies in active learning; and 3) examine the outcomes of implementing the management process for PLCs to strengthen teachers’ active learning competencies in three private educational institutions: a large, medium, and small school, located in Bangkok, its metropolitan areas, and provinces. The research employed a four-phase research and development (R&D) process: 1) studying the needs for developing the management process of PLCs to promote elementary school teachers’ active learning competencies, 2) evaluating the quality of the PLC management process, 3) conducting experimental research to study the outcomes of applying the PLC management process, and 4) conducting focus group discussions to validate the PLC management process aimed at enhancing teachers’ active learning competencies.
The research findings revealed that:
1. All three educational institutions had already implemented PLC processes in their schools for some time. The common need across these institutions was the development of a PLC management process that established clear collaboration between experienced and novice teachers. Additionally, each institution had specific needs, such as the development of PLC processes to support students with special needs, students with diverse abilities based on the theory of multiple intelligences, and the creation of a learning environment that fosters students’ emotional and social development.
2. The PLC management process to enhance elementary school teachers’ active Learning competencies was developed using the POSDC management framework, which consists of five key stages: Planning, Organizing, Staffing, Directing, and Controlling. Each stage plays a crucial role in ensuring that organizations operate effectively and achieve their set goals. The management process comprises eight steps, known as the “6PLC Managing Procedure with AMCS,” including: Preparation, Purpose (setting shared goals and vision), Planning (designing learning management together), People (forming groups and uniting teachers), Process (driving the PLC process), Peer Coaching, Learning Reflection, and Continuous Improvement. These steps are supported by four key roles of administrators: Academic Leadership, Mentoring, Coaching, and Supporting.
3. The outcomes of implementing the PLC management process to enhance Teachers’ active learning competencies indicated that: 1) teachers showed improvement in knowledge, skills, and positive attitudes toward active learning, 2) students demonstrated enhanced problem-solving abilities and positive attitudes toward learning, and 3) school administrators across the three institutions had positive attitudes and high satisfaction with the “PLC management process for enhancing elementary school teachers’ active learning competencies.” Furthermore, competency development was observed at the individual, group, organizational, and inter-organizational network levels.
Keywords: Keyword: Competency, Active Learning, Professional Learning Community, Professional Learning Community Management Process
A Research and Development of Professional Learning Community Management Procedure to Enhance Active Learning Competencies of Primary School Teachers: A Multiple Case-Study under The Office of Private School Education Commission / การวิจัยและพัฒนากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
5819000004 นางสาวปิ่นมุก เสนาดิสัย Miss Pinmook Senadisai 2567 (2024) A Research and Development of Professional Learning Community Management Procedure to Enhance Active Learning Competencies of Primary School Teachers: A Multiple Case-Study under The Office of Private School Education Commission วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: รศ. ดร.บุญมี เณรยอด – Assoc. Prof. Dr. Boonmee Nenyod, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Leadership and Innovation in Educational Administration, ปร.ด. ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Leadership and Innovation in Educational Administration, Bangkok: Siam University