Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์, สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทย

Last modified: July 15, 2025
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์, สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทย
Title: A Study of Antimicrobial Activity, Antioxidant Activity and Chemical Composition of Essential Oils from Thai Medicinal Plants
ผู้วิจัย:
Researcher:
สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง, ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์, พิริยาภรณ์ จงตระกูล และ หัทยา ธัญจรูญ | Somporn Srifuengfung, Chanwit Tribuddharat, Piriyaporn Chongtragool & Huttaya Thuncharoon
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care
สาขาที่สอน:
Major:
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์, สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทย | Research Report A Study of Antimicrobial Activity, Antioxidant Activity and Chemical Composition of Essential Oils from Thai Medicinal Plants

บทคัดย่อ

การศึกษาน้ำมันหอมระเหย 4 ชนิด คือ กานพลู, ต้นชา, กระชาย และยูคาลิปตัสเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์โดยใช้วิธีมาตรฐานทางจุลชีววิทยาคือ Disk diffusion ท้าการทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราก่อโรค 6 ชนิด คือ Staphylococcusaureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25922 และเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน ร.พ.ศิริราช คือ Methicillin-sensitive S. aureus (MSSA) 8 สายพันธุ์, Methicillin-resistant S. aureus (MRSA) 8 สายพันธุ์, Acinetobacter baumannii 12 สายพันธุ์, E. coli 6 สายพันธุ์, Pseudomonas aeruginosa 6 สายพันธุ์ และ Candida albicans 6 สายพันธุ์พบว่าน้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดีที่สุด ส่วนน้ำมันต้นชา และน้ำมันกระชาย มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดีรองลงมา ส่วนน้ำมันยูคาลิปตัสมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์น้อยที่สุด สำหรับการศึกษากี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้วิธีมาตรฐานคือ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) พบว่าน้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดกล่าวคือ ผล IC50 (inhibitory concentration at 50%) = 0.01 ± 0.00 mg/ml รองลงมาคือ น ้ามันต้นชา IC50 = 15.48 ± 0.00 mg/ml และ น้ำมันกระชาย IC50 = 34.27± 0.21 mg/ml ส่วนน้ำมันยูคาลิปตัส พบว่าไม่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเลย สำหรับผลการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีพบว่า Eugenol จากน้ำมันกานพลู, Alpha-Terpineol จากน้ำมันกระชายและ Terpinen-4-ol จากน้ำมันต้นชามีฤทธิ์ต้าน จุลินทรีย์ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของน้ำมันทั้งสามโดยใช้ค่า mean ± standard deviation เพราะพบว่าค่า inhibition zone เฉลี่ยเท่ากับ 14.40 ± 5.16, 14.02 ± 5.32 และ 12.71 ± 5.59 มม. ตามลำดับสำหรับผลการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า Eugenol จากน้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด รองลงมา คือ Alpha-Terpineol จากน้ำมันกระชาย และ Terpinen-4-ol จากน้ำมันต้นชาตามลำดับ

คำสำคัญ: ก้านพลู, ต้นชา, กระชาย, ยูคาลิปตัส, น้ำมันหอมระเหย


Abstract

Many essential oils have antimicrobial and antioxidant properties with a potential use in medicine. Clove oil, Tea Tree oil, Lesser Galanga oil and Eucalyptus oil are essential oils, of which we determined the inhibitory against microbial pathogens and evaluated their active chemical components. The antimicrobial activities were tested by disk diffusion method against 2 control strains S. aureus ATCC 25923, E. coli ATCC 25922 and 46 clinical isolates of MSSA, MRSA, A. baumannii, E. coli, P. aeruginosa and C. albicans obtained from different patients admitted in Siriraj Hospital. Clove oil had the most antimicrobial activity, followed by Tea Tree oil, Lesser Galanga oil and Eucalyptus oil, respectively. By using DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) method, Clove oil had the most antioxidant activity, followed by Tea Tree oil, Lesser Galanga oil and Eucalyptus oil, respectively. The IC50 (inhibitory concentration at 50%) of Clove oil was 0.01 ± 0.00 mg/ml, followed by Tea Tree oil (IC50 = 15.48 ± 0.00 mg/ml) and Lesser Galanga oil, IC50 = 34.27± 0.21 mg/ml, respectively. However, Eucalyptus oil did not show antioxidant activity. Eugenol, Alpha-Terpineol and Terpinen-4-ol are chemical composition abundant in Clove, Tea Tree and Lesser Galanga oils, respectively. Our results suggest that theantimicrobial activities of these chemical compositions are not different by mean ± standard deviation because the diameter of inhibition zones were 14.40 ± 5.16, 14.02 ± 5.32 and 12.71 ± 5.59 mm, respectively. The chemical composition (Eugenol, Alpha-Terpineol and Terpinen-4-ol) showed antioxidant properties from highest to lowest in order as eugenol, Alpha-Terpineol and Terpinen-4-ol, respectively.

Keywords: Clove oil, Tea Tree oil, Lesser Galanga oil, Eucalyptus oil, Essential oil


ศ. ดร. สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง – Prof. Dr. Somporn Srifuengfun. 2567 (2024). A Study of Antimicrobial Activity, Antioxidant Activity and Chemical Composition of Essential Oils from Thai Medicinal Plants. รายงานการวิจัย. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University