Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การสำรวจสถานการณ์การปฏิบัติงานให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของบัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย

Last modified: April 23, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การสำรวจสถานการณ์การปฏิบัติงานให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของบัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย
Title: A Survey on the Practice on Smoking Cessation among Pharmacy Graduates in Thailand
ผู้วิจัย:
Researcher:
เสถียร พูลผล, อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ, ภัณฑิรา ปริญญารักษ์, กรแก้ว จันทภาษา, กิติยศ ยศสมบัติ, ชวนชม ธนนิธิศักดิ์, ทวีศักดิ์ มณีโรจน์, ธิดารัตน์ มานะพัฒนเสถียร, ประสิทธิชัย พูลผล, ปวันรัตน์ ปัณณทัตพิทยุตม์, วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์, ศิราณี ยงประเดิม, สุชาดา สูรพันธุ์, สุพรรณิการ์ พรวัฒนกวี, ภาณุมาศ ภูมาศ, ขัตติยะ มั่งคั่ง – Sathian Phunpon
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care
สาขาที่สอน:
Major:
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2567 หน้า 534-545 | Thai Journal of Pharmacy Practice Vol. 16 No. 2, April – June 2024 p.534-545
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261487    PDF

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการให้บริการเลิกบุหรี่และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการเลิกบุหรี่ของบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย วิธีการ: งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากบัณฑิตของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย 19 แห่งที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวน 358 คน การศึกษาเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก การศึกษาเก็บข้อมูลในช่วง เม.ย.-พ.ค. 2565 ด้วย แบบสอบถามออนไลน์ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัย: ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.6) อายุเฉลี่ย 26.15 ± 1.73 ปี สำเร็จการศึกษาสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมร้อยละ 76.5 จบในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 60.9 มีใบประกอบวิชาชีพร้อยละ 95.5 เป็นเภสัชกรโรงพยาบาลร้อยละ 41.9 และมีประสบการณ์การทำงาน 1-1.9 ปี (ร้อยละ 42.2) ส่วนใหญ่เคยเรียนเกี่ยวกับบุหรี่ (ร้อยละ 77.7) โดยเรียนเฉลี่ย 9.25 ± 7.29 ชั่วโมง และเคยให้บริการเลิกบุหรี่ระหว่างเรียนร้อยละ 60.9 หรือเฉลี่ย 3.14 ± 3.90 รายต่อปี หลังจบการศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยให้บริการเลิกบุหรี่ ไม่เคยอบรมเพิ่มเติม และไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่ช่วยเลิกบุหรี่ (ร้อยละ 64.8, 84.6, และ 90.8 ตามลำดับ) ปัจจัยเอื้อที่ส่งผลต่อการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่มากที่สุดคือ ความสุขในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือการที่ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และการวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (คะแนนเฉลี่ย 3.84±1.06, 3.74±1.13 และ 3.69±1.09 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5) ประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่หลังจบการศึกษาและการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ขณะกำลังศึกษา มีความสัมพันธ์กับการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุป: บทบาทการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของเภสัชกรนั้นควรได้รับการเน้นย้ำถึงความสำคัญตั้งแต่การเรียนการสอนในคณะและการฝึกอบรมเพิ่มเติมหลังจบการศึกษา การที่หน่วยงานของเภสัชกรมีนโยบายและแผนการทำงานที่ชัดเจน และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้เภสัชกรให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ให้กับประชาชน

Keywords: การให้บริการช่วยเลิกบุหรี่, บัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์, เภสัชกร, คณะเภสัชศาสตร์


Abstract

Objective: To survey the extent of provision of smoking cessation service among pharmacy graduates in Thailand and identify its affecting factors. Methods: This survey research collected data from 358 graduates of 19 Faculties of Pharmacy in Thailand who graduated during academic year 2018 – 2020. The subjects were conveniently selected. Data collection was conducted from April 2022 to May 2022 using online questionnaires developed by the researchers Results: Most of the subjects were female (67.6%) with average age of 26.15 ± 1.73 years. 76.5% of them graduated in the program on pharmaceutical care, while 60.9% graduated in the academic year 2020. 95.5% of them had pharmacy licenses. 41.9% were hospital pharmacists, and had 1-1.9 years of work experience (42.2%). Most of them had learned about cigarette (77.7%) in school with an average of 9.25 ± 7.29 hours. 60.9% of subjects had provided smoking cessation services during their studies with an average of 3.14 ± 3.90 cases per year. After graduation, most of them never offered smoking cessation services, never attended additional training and never participated in a smoking cessation project (64.8%, 84.6%, and 90.8%, respectively). Factors contributing most to the provision of smoking Research article cessation services were happiness at work followed by executives at all levels giving importance to smoking cessation services, having clear goals and setting effective work systems (mean scores of 3.84±1.06, 3.74±1.13 and 3.69±1.09 respectively, from the full score of 5). Work experience, training on smoking cessation after graduation, and providing smoking cessation services during schooling showed a statistically significant correlation with the provision of smoking cessation service (P<0.05). Conclusion: The role of pharmacists in providing smoking cessation services should be emphasized during schooling and post-graduate training. Pharmacy organizations with clear policy and work plans on the service and with a good working environment were facilitating factors for pharmacists to provide smoking cessation
services for public.

Keywords: provision of smoking cessation service, pharmacy graduates, pharmacist, faculty of pharmacy


A Survey on the Practice on Smoking Cessation among Pharmacy Graduates in Thailand. 2566 (2023). การสำรวจสถานการณ์การปฏิบัติงานให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของบัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย. บทความ (Paper). Advisor: ดร. เสถียร พูลผล – Dr. Sathian Phunpon. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, เภสัชศาสตร์ (Pharmacy), เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care),หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care