Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย

Last modified: October 15, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย
Factors affecting management efficiency of hard-disk-drive industry in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นาย สราวุธ แซ่ตั้ง
Mr. Sarawut Saetung
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล, รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียรเปรมชัยสวัสดิ์
Assistant Professor Dr. Jidapa Thirasirikul, AssociateProfessor Dr.Wichian Premchaiswadi
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

สราวุธ แซ่ตั้ง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Saetung S. (2017). Factors affecting management efficiency of hard-disk-drive industry in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการบริหารจัดการในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยของการบริหารจัดการในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารจัดการของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในพัฒนาปัจจัยของการบริหารจัดการในกระบวนการผลิต ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พนักงานของบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล จํานวน 486 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และแบบจําลองสมการ โครงสร้างเพื่อทดสอบสมมติฐาน เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลเชิงปริมาณ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานและผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ให้ความ อนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปาน กลาง (x̄=3.34) ระบบการผลิตแบบลีน (Lean) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.43) การบํารุงรักษา ทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม(TPM) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.42) และประสิทธิภาพการบริหาร จัดการ (BP) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.44) ส่วนแบบจําลองสมการ โครงสร้างของประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย ที่ผู้วิจัยได้ทัฒนาขึ้น จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง มีกวามกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าของคัชนีวัดความ สอดคล้องคือ 12 = 68,934 , df = 57 , GFI = 0.982 , AGFI = 0.962 , CIFI = 0.998 , NFI = (0.989 และ RMSEA = (0.021 และ ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.134 ส่วนค่าสัมประสิทธิเส้นทางระหว่าง การบริหารกุณภาพทั่วทั้งองค์กรกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มีค่าเท่ากับ 0.59 และก่า สัมประสิทธิเส้นทางระหว่างการบํารุงรักษาทวียถที่ทุกคนมีส่วนร่วมกับประสิทธิภาพการบริหาร จัดการ มีค่าเท่ากับ 0.26 โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่าง ระบบการผลิตแบบลีน กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มีค่าเท่ากับ 0.15 แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ โดยพบว่าโดยตัวแปรอิสระร่วมกัน สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ได้ร้อยละ 92


Abstract

The objectives of this research were 1) to study the conditions of production management affecting management efficiency of the hard-disk-drive industry in Thailand. 2) to study factors affecting production management efficiency of the hard-disk-drive industry in Thailand. 3) to propose production developmental guidelines in order to improve the management efficiency of hard-disk-drives in Thailand. The methodology of this research was mainly Quantitative. Data collection from 486 respondents within the hard-disk-drive manufacturing chain was collected. The statistical techniques used were descriptive statistics and structural equation model for hypothesis testing. Qualitative data collection was compiled through in-depth interview to describe quantitative results. Key informants of this research were academic experts, employees and management teams of the hard disk drive manufacturers.

Results of the study showed that the mean score of total quality management was at a moderate level (x̅=3.3 4 ), whereas Lean manufacturing, total productive maintenance, and management efficiency had the mean score at a high level which were (x̅ =3 .4 3), (x̅=3.42), and (x̅ =3.44), respectively. Furthermore, structural equation model of management efficiency of hard-disk-drive industry in Thailand was developed from literature review which was consistent with the empirical data. The goodness of fit indices were ?2= 68.934, df = 57, GFI = 0.982, AGFI = 0.962, CFI = 0.998, NFI = 0.989, RMSEA = 0.021 and p-value was equal to 0.134. In addition, path coefficient between total quality management and management efficiency was equal to 0 . 5 9, whereas path coefficient between productive maintenance and management efficiency was 0 .2 6 with statistical significance at 0.01 level. However, path coefficient between Lean manufacturing and management efficiency was equal to 0.15 without statistical significance. The findings showed that the independent variables could explain 92 percent of management efficiency.


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย / Factors affecting management efficiency of hard-disk-drive industry in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand