Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล

Last modified: November 20, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล
Management Efficiency of The Metropolice Police, The Royal Thai Police
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ดาบตำรวจ เศรษฐพัส  ธเนษฐ์ภัคศพง
Police Senior Sergeant Major Settapas Thanetpucksapong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย  จันทร์เรือง, พันตำรวจเอก ดร.ปรีดา  สถาวร
Assistant Professor Dr.Sommai  Chanruang, Police Colonel Dr.Peeda  Sataworn
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

เศรษฐพัส  ธเนษฐ์ภัคศพง. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการสืบสวนสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) ศึกษาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการสืบสวนสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) พัฒนาปรับปรุงและเสริมสร้างข้อเสนอแนะปัจจัยที่นำไปสู่ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการป้องกันปรามรามอาชญากรรมและการสืบสวนสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใน 7 ด้านดังนี้ 1.กลยุทธ์ 2.โครงสร้าง 3.ภาวะผู้นำ 4.ค่านิยมร่วม 5.รูปแบบการบริหารจัดการ 6.การบริหารจัดการด้านกำลังพล 7.การบริหารจัดการด้านทักษะกำลังพล ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภารกิจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ด้านที่ 1 ด้านการป้องกันปราบปรามได้แก่กลุ่มที่ 1 รองผู้กำกับการ กลุ่มที่ 2 สารวัตร กลุ่มที่ 3 รองสารวัตร ผู้บังคับหมู่หรือระดับปฏิบัติการรวมจำนวน 240 คนด้านที่ 2 ด้านสืบสวนสอบสวนได้แก่ กลุ่มที่ 1 รองผู้กำกับการ กลุ่มที่ 2 สารวัตร กลุ่มที่ 3 รองสารวัตร ผู้บังคับหมู่หรือระดับปฏิบัติการรวมจำนวน  240 คนของสถานีตำรวจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการโรงพักเพื่อประชาชนสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลในหน่วยงานหลักของกองบังคับการ 1-9 รวม 9 สถานีตำรวจและหน่วยงานสนับสนุนในระดับปฏิบัติการ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง รวม 480 คน

เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ผลแสดงการประเมินค่าความน่าเชื่อถือของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นรวม เท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยหลัก 7 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมีค่าทางสถิติสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้

คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, ตำรวจนครบาล


Abstract

This research article aimed to: 1) study the management efficiency levels of the crime prevention and investigation of the Metropolitan Police; 2)  study the factors affecting the management efficiency of  crime prevention and investigation of the Metropolitan Police; and 3) to develop certain constructive recommendations and improvements on the factors leading to management efficiency of crime prevention and investigation of the Metropolitan Police, covering seven dimensions: 1. strategy, 2. structure, 3. leadership, 4. shared value, 5. managerial pattern, 6. police force management and 7. skill management, all affecting mission management efficiency of the Metropolitan Police.

The research employed quantitative research methodology and acquired data from the samples including; 1. Deputy Superintendents of Prevention and Suppression,  Police Protectors, Deputy Marshalls and Compulsory Defenses; 2. Deputy Superintendent of Investigations, Investigative Inspectors, Deputy Inspectors and Investigators from Nine Police Stations awarded the bests of “Police Station for the People” project and other relevant supporting units, all via purposive sampling method with the total amount of 480 samples.

Data collecting tools of this research were the questionnaire forms of 0.974 Cronbach’s Alpha coefficient reliability test. Statistical Analysis techniques included descriptive and inferential types and structural equation modeling. The results of the study found seven key factors affected the management efficiency of the Metropolitan Police, all with statistical significance.

Keywords: Efficiency, Management, Metropolitan Police.


ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล / Management Efficiency of The Metropolice Police, The Royal Thai Police

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand