Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย

Last modified: November 24, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย
Prototype of High Performance Organizational Management of Private Universities in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวเสาวภา เมืองแก่น
Miss Saowapha Muangkaen
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช, รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ คุณารักษ์
Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit, Assoc. Prof. Dr. Pragob Kunarak
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

เสาวภา เมืองแก่น. (2560). ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Muangkaen S. (2017). Prototype of high performance organizational management of private vniversities in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการองค์การแห่ง ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย และ 2) เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความ เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และเสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) ใช้เครื่องมือการวิจัยแบบผสานวิธี (mixed method) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้บริหารระดับสูงที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและกํากับดูแลคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหารสภาการศึกษา ผู้บริหารสํานักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และผู้ทรงคุณวุฒิจาก สถาบันอุดมศึกษารัฐและเอกชน รวมจํานวน 5 คน กลุ่มที่สอง เป็นผู้บริหาร นักวิชาการ ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย จาก มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ มหาวิทยาลัยสยาม รวมจํานวน 13 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (2) กลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณจํานวน 378 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (3) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับมหาวิทยาลัยเอกชนต้นแบบที่มีชื่อเสียงและมีความเป็นเลิศระดับสากล ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยบราวน์ และมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเอกสารด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า:
1) ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย มีองค์ประกอบ สําคัญหกมิติ ประกอบด้วย (1) มิติด้านการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศในส่วนของการจัดการองค์การที่มี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดตามภารกิจหลักของการอุดมศึกษา (2) มิติด้านภาวะผู้นํา ผู้บริหารเกี่ยวกับลักษณะของผู้นําเชิงคุณลักษณะ ผู้นําเชิงพฤติกรรม ผู้นําเชิงการบริหารจัดการ (3) มิติ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการคัดเลือกสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การธํารงรักษา บุคลากร (4) มิติด้านวัฒนธรรมองค์การในส่วนของวัฒนธรรมองค์การทางความคิด วัฒนธรรมองค์การ ทางพฤติกรรม วัฒนธรรมองค์การทางวัตถุ (5) มิติด้านการจัดการความรู้เกี่ยวกับการกําหนดทิศทาง เป้าประสงค์ของการจัดการความรู้ การแสวงหาและการสร้าง การกลั่นกรองความรู้ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการถ่ายทอดความรู้ และ (6) มิติกด้านการจัดการเทคโนโลยีในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ต้องมีองค์ประกอบ ข้างต้นทั้งหกมิติเป็นหลัก และมุ่งเสริมสร้างความเป็นเลิศทางด้านใดด้านหนึ่งที่เป็นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์เฉพาะให้โดดเด่น ความเป็นเลิศมาจากการมีเครือข่าย การแสวงหาพันธมิตร เพื่อสนับสนุนงานวิชาการ บริการวิชาการ และมุ่งพัฒนางานวิจัย การสร้างนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเอกชนไทยจะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ต้องสามารถจัดหา และบริหารแหล่งทุน บริหารทรัพยากรที่ก่อให้ เกิดมูลค่าเพิ่ม จึงจะสร้างความมีศักยภาพ สร้างชื่อเสียงในระดับสากล ดังมหาวิทยาลัยเอกชนต้นแบบ ที่มีความเป็นเลิศเชิงประจักษ์พร้อมการพัฒนาที่ยั่งยืน

คําสําคัญ: การจัดการ, มหาวิทยาลัยเอกชนไทย, ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศ


Abstract

The objectives of this study were: 1) to examine the components of the high performance management of private universities in Thailand and 2) to build a model of the high performance management of private universities in Thailand.

This study was a mixed method approach a qualitative research, added with quantitative data, the sample of this study was divided into 3 groups. (1) A qualitative group included 2 groups. (a) The first group consisted of experts and high level managers who delivered policy and monitored quality of educational standard. The informants of this group were the administrator of the Higher Education Commission, the Education Council, the Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization) and experts from private and government universities. They were 5 informants and selected by the purposive sampling technique. (b) The second group consisted of 13 administrators, faculty members, alumni, and employers from three Thai private universities i.e. Rangsit University, Sripatum University, and Siam University. (2) A quantitative group included 378 persons and was selected by the stratified random sampling technique. (3) Documents related to international high performance management of Harvard University, Brown University, and Singapore Management University were examined and selected by the purposive sampling technique. Qualitative data were analyzed by content analysis and quantitative data were analyzed by descriptive statistics.

The result showed as follows:
1) The high performance organization management of private universities in Thailand consisted of 6 components. (1) To have best practice, universities must manage their universities efficiently and effectively according to higher education missions. (2) Administrators need to embed leadership in terms of traits, behaviors, and management. (3) The human resource management must include recruitment, development, and personnel retention. (4) The organizational culture such as thinking, behaviors, and instrumental or symbolic objects had to be entrenched. (5) Knowledge management must be established their goals and objectives, so direction can be specified. Universities must seek for and create the KM team, perform the knowledge audit and analysis, share and transfer knowledge. (6) Technology management must include building infrastructure of the information of technology, accepting and implementing information of technology, and delivering information of technology policy.
2) The model of high performance organization management of private universities in Thailand must consist of 6 components as the core components. Moreover, these private universities must excel for their high performance to demonstrate their identities or uniqueness. To achieve that high performance, these private universities must build their network and seek for collaboration between alliances. These will lead to support in terms of academic affairs and services, research and innovation. Universities must seek for and manage fund and resources for developing which can be value added. As a result, universities will increase their potential and gain their reputation internationally, such as international high performance management of private universities with sustainable development as well.

Keyword: management, private universities, prototype of high performance organizational management.


ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย|Prototype of High Performance Organizational Management of Private Universities in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand