Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย

Last modified: November 11, 2022
You are here:
Estimated reading time: 7 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Risk and Entrepreneurial Potentiality Affecting Waste Recycling Marketing of Thailand’s Industrial Park
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางธนานันต์ มาซีดี
Mrs. Thananan Mazeedi
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ. ดร.ปริญ ลักษิตามาศ
Asst. Prof. Dr. Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

ธนานันต์ มาซีดี. (2560). ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Mazeedi T. (2017). Risk and entrepreneurial potentiality affecting waste recycling marketing of Thailand’s industrial park. (Doctoral dissertation). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ภาคตะวันออกของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทย (2) รูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลภาคตะวันออกของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทย และ (3) พัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลภาคตะวันออก ของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิลในนิคมอุตสาหกรรมไทย จำนวนทั้งสิ้น 437ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 14.0 และ AMOS version 16.0 ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model Analysis: SEM)

ข้อมูลพื้นฐานทางธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจตลาดขยะรีไซเคิล จำนวนทั้งสิ้น 437 ราย ลักษณะที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มโรงงานรับซื้อวัตถุดิบ ร้อยละ 40.7 รองลงมาคือ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 36.9 โดยส่วนใหญ่จะดำเนินงานในกิจกรรมต้นน้ำ (รับซื้อขยะจากลูกค้า) ร้อยละ 51.7 รองลงมาคือ กิจกรรมระหว่างการดำเนินงาน ร้อยละ 35.0 จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเฉลี่ย 1.15 กิจกรรม โดยมักจะเป็นหุ้นส่วนกับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่เครือญาติ คิดเป็นร้อยละ 42.6 รองลงมาคือ หุ้นส่วนในเครือญาติ ร้อยละ 37.3 แหล่งเงินทุนดำเนินธุรกิจโดยส่วนใหญ่เป็นเงินของตนเอง ร้อยละ 71.6 รองลงมาคือ เงินกู้จากธนาคารต่างๆ ร้อยละ 55.4 คิดเป็นจำนวนแหล่งเงินทุนโดยเฉลี่ย 1.86 แหล่ง มีจำนวนพนักงานในองค์กร 51-100 คน ร้อยละ 48.3 รองลงมาคือ มีจำนวนพนักงานในองค์กรไม่เกิน 50 คน ร้อยละ 30.4 คิดเป็นจำนวนพนักงานในองค์กรเฉลี่ย 57.24 คน ระยะเวลาดำเนินธุรกิจโดยส่วนใหญ่ 6-10 ปี ร้อยละ 51.7 รองลงมาคือ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 27.0 โดยเฉลี่ยคิดเป็นระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 7.24 ปี

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิลในนิคม อุตสาหกรรมไทยมีการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจจัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.67) มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจจัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.56) และมีการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลจัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.65)

ผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิลในนิคมอุตสาหกรรมไทยมีการบริหารความเสี่ยง ที่ควบคุมได้จัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.76) โดยประเด็นที่มีการบริหารความเสี่ยงระดับมากที่สุดคือ ปัจจัยความเสี่ยงด้านหาแรงงาน (x̄ = 4.23) โดยการบริหารความเสี่ยงระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณภาพสินค้า (x̄ = 3.83) ความเสี่ยงเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ (x̄ = 3.73) และปัจจัยเสี่ยงด้านเมื่อส่งออกค่าขนส่งแพงกว่าคู่แข่ง (x̄ = 3.68) และการบริหารความเสี่ยง ที่ควบคุมไม่ได้จัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.57) โดยเฉพาะราคาของวัตถุดิบรีไซเคิลเปลี่ยนรวดเร็ว (x̄ = 3.93) ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศนำเข้าวัตถุดิบรีไซเคิลมีข้อจำกัด (x̄ = 3.87) และความเสี่ยงจากราคา วัตถุดิบรีไซเคิล (x̄ = 3.42)

ผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิลในนิคมอุตสาหกรรมไทยมีความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจจัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.56) โดยมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ จัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ (x̄ = 3.73) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (x̄ = 3.68) ผลิตภาพจากการประกอบธุรกิจ (x̄ = 3.62) การติดต่อและส่งมอบการสินค้า/บริการ (x̄ = 3.60) และการดึงดูดใจ (x̄ = 3.43) โดยการเข้าถึงนโยบายรัฐ (x̄ = 3.31) จัดอยู่ในระดับปานกลาง

ผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิลในนิคมอุตสาหกรรมไทยมีการจัดการการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลจัดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.65) โดยมีการจัดการการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลจัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ (x̄ = 3.78) การรักษาความสัมพันธ์ (x̄ = 3.77) การติดตามลูกค้า (x̄ = 3.76) การเสนอและบริการที่เป็นประโยชน์ (x̄ = 3.59) การรับฟังข้อมูลความคิดเห็น (x̄ = 3.57) และการสื่อสารกับลูกค้า (x̄ = 3.42) ตามลำดับ

การตรวจสอบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรปัจจัยทางธุรกิจ มีค่าความเบ้ (Skewness) อยู่ระหว่าง -0.45 ถึง -0.06 และค่าความโด่ง (Kurtosis) อยู่ระหว่าง -0.42 ถึง 0.42 การบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจ มีค่าความเบ้ (Skewness) อยู่ระหว่าง -0.46 ถึง -0.19 และค่าความโด่ง (Kurtosis) อยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 0.78 ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ มีค่าความเบ้ (Skewness) อยู่ระหว่าง -0.43 ถึง -0.14 และค่าความโด่ง (Kurtosis) อยู่ระหว่าง -0.45 ถึง 1.00 และการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล มีค่าความเบ้ (Skewness) อยู่ระหว่าง -0.71 ถึง -0.14 และค่าความโด่ง (Kurtosis) อยู่ระหว่าง -0.01 ถึง 1.10 ทุกตัวแปรต่างมีความเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model Analysis: SEM)

การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางธุรกิจ มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้วัดจำนวน 6 ตัวแปรอยู่ระหว่าง 0.413* ถึง 0.637* การบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้วัดจำนวน 2 ตัวแปรเท่ากับ 0.722* และความสามารถในการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ใช้วัดจำนวน 6 ตัวแปรอยู่ระหว่าง 0.549* ถึง 0.765* ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล

รูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เนื่องจากความกลมกลืนของโมเดลในภาพรวม (Overall Model Fit Measure) พบว่าสัดส่วนค่าสถิติไคสแควร์/ค่าชั้นแห่งความเป็นอิสระ (χ2/df) มีค่าเท่ากับ 2.499 เมื่อพิจารณาดัชนีกลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 0.90 พบว่าดัชนีทุกตัวได้แก่ GFI=0.975, AGFI=0.949, CFI=0.983, NFI=0.936, TLI=0.911 ผ่านเกณฑ์ ส่วนดัชนีที่กำหนดไว้ที่ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05 พบว่า ดัชนี RMR=0.035 และ RMSEA=0.041 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน

การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ (Risk) พบว่าตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย ความเสี่ยงที่ควบคุมได้ และความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ต่างมีความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ค่าน้ำหนักปัจจัย (Factor Loading) อยู่ระหว่าง 0.642 ถึง 0.916 และแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจอยู่ระหว่างร้อยละ 41.3 ถึง 83.9

ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (Able) พบว่าตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย ความสามารถในการตัดสินใจ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลิตภาพจากการประกอบธุรกิจ การติดต่อและส่งมอบการสินค้า/บริการ การดึงดูดใจ และการเข้าถึงนโยบายรัฐต่างมีความสอดคล้องกับความสามารถในการดำเนินธุรกิจซึ่งเป็นตัวแปรแฝง โดยมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 (P<0.05) ค่าน้ำหนักปัจจัย (Factor Loading) อยู่ระหว่าง 0.545 ถึง 0.908 และแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของความสามารถในการดำเนินธุรกิจอยู่ระหว่างร้อยละ 29.3 ถึง 82.4

การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล (CRM) พบว่าตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ การรักษาความสัมพันธ์ การรับฟังข้อมูลความคิดเห็นการติดตามลูกค้า การเสนอและบริการที่เป็นประโยชน์ และการสื่อสารกับลูกค้าต่างมี ความสอดคล้องกับการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลซึ่งเป็นตัวแปรแฝงโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (P<0.05) ค่าน้ำหนักปัจจัย (Factor Loading) อยู่ระหว่าง 0.575 ถึง 0.877 และแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลอยู่ระหว่างร้อยละ 33.1 ถึง 76.8 สรุปได้ว่ารูปแบบ การบริหารความเสี่ยงและความสามารถการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทยในแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถใน การดำเนินธุรกิจ และการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลต่างมี ความเที่ยงตรง (Validity) ทั้งนี้เนื่องจากค่าน้ำหนักปัจจัย (Factor Loading) มีค่าตั้งแต่ 0.30 ขึ้นไป และมีนัยสำคัญทางสถิติ

การพิจารณารูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลของผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมไทย โดยพิจารณาในส่วนของโมเดลโครงสร้าง (Structural Model)พบว่า (1) ปัจจัยทางธุรกิจขยะรีไซเคิลเกี่ยวกับลักษณะของการประกอบธุรกิจ ลักษณะของกิจการทางธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยงต่างมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจขยะรีไซเคิล (P<0.05) (DE=0.107*, 0.178*, 0.104* และ 0.498* ตามลำดับ) รวมถึงมีความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล โดยผ่านความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (P<0.05) (IE=0.083*, 0.138*, 0.081* และ 0.387* ตามลำดับ) และ (2) ความสามารถในการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ด้วย (P<0.05) (DE=0.777*)

ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ พบว่ารูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทยมีความเที่ยงตรง (Validity) เนื่องจาก มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) เท่ากับ 0.603 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.3

นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไทย ยังสามารถเขียนในรูปสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ได้ดังนี้

ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (Able)
= 0.107* ลักษณะของการประกอบธุรกิจ + 0.026 กระบวนการในการดำเนินงาน
+ 0.178* ลักษณะของกิจการทางธุรกิจ + 0.064 แหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ
+ 0.012 จำนวนพนักงานในองค์กร + 0.104* ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ
+ 0.498* การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ; R2 = 0.248
การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล (CRM)
= 0.777* ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ; R2 = 0.603

การวิจัยครั้งนี้ได้ตั้งสมมติฐานการวิจัยดังนี้

สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยทางธุรกิจขยะรีไซเคิลมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสามารถในการดำเนินตลาดขยะรีไซเคิลพบว่า ปัจจัยทางธุรกิจขยะรีไซเคิลเกี่ยวกับลักษณะของการประกอบธุรกิจ ลักษณะของกิจการทางธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจขยะรีไซเคิลจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นกระบวนการในการดำเนินงาน แหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ และจำนวนพนักงานในองค์กรที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

สมมติฐานที่ 2 การบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจขยะรีไซเคิลพบว่า การบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจ มีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจตลาดขยะรีไซเคิล (P<0.05) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient=0.498*) (DE=0.498*) จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

สมมติฐานที่ 3 ปัจจัยทางธุรกิจตลาดขยะรีไซเคิลมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อ การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลพบว่า ปัจจัยทางธุรกิจตลาด ขยะรีไซเคิลเกี่ยวกับลักษณะของการประกอบธุรกิจ ลักษณะของกิจการทางธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ ในตลาดขยะรีไซเคิลจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นกระบวนการในการดำเนินงาน แหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ และจำนวนพนักงานในองค์กรที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

สมมติฐานที่ 4 การบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อ การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลพบว่า การบริหารความเสี่ยงและ การดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาด ขยะรีไซเคิล โดยผ่านความสามารถในการดำเนินธุรกิจขยะรีไซเคิล (P<0.05) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient=0.387*)(DE=0.387*) จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

สมมติฐานที่ 5 ความสามารถในการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อ การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลพบว่า ความสามารถใน การดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาด ขยะรีไซเคิล (P<0.05) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient=0.777*) (DE=0.777*) จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

รูปแบบการบริหารความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อ การจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิลของผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมไทยในเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยทางธุรกิจขยะรีไซเคิลเกี่ยวกับลักษณะ ของการประกอบธุรกิจ ลักษณะของกิจการทางธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจยังมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ตลอดจนรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อีกทั้งมีความสามารถ ในการพยากรณ์ได้ระดับดีและเป็นที่ยอมรับด้วย คิดเป็นร้อยละ 60.3 ซึ่งผ่านเกณฑ์ ตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป


Abstract

The research was aimed to study “Risk and Entrepreneurial Potentiality Affecting Waste Recycling Marketing of Thailand’s Industrial Park” has prominent research objectives as to (1) the level of risk management and capability in business operations affected customer relationship marketing in waste recycling market of entrepreneurs’ Thailand industrial park (2) the model of risk management and capability in business operations affected customer relationship marketing in waste recycling market of entrepreneurs’ Thailand industrial park and (3) develop the risk management and capability in business operations affected customer relationship marketing in waste recycling market of entrepreneurs’ Thailand industrial park.

The research tool was questionnaires collected from a sample of 437 respondents. The data were collected using analysis of software program SPSS version 14.0 and AMOS version 16.0. The statistical values of frequency distribution, percentage, arithmetic means, standard deviation, skewness, kurtosis and structural equation model analysis: SEM.

The fundamental information of waste recycling business of 437 entrepreneurs was mostly found in raw material purchased manufacturers (40.7%), industrial manufacturers (36.9%), operated mainly in beginning staged activity as waste purchase from customer (51.7%), middle staged operations (35.0%), average ratio of operations (1.15 activities), partnership with non kinship (42.6%) and kinship partnership (37.3%), sources of capital investment mostly from owner (71.6%) and banks’ borrowing (55.4%) average ratio of capital sources (1.86), 51-100 organization employees (48.3%), less than 50 personnels (30.4%), average ratio of 57 organization employees, 6-10 years of operations mainly (51.7%), less than 5 years of operations (27.0%) average ratio of business operational period (7.24 years).

The research indicated that the entrepreneurs’ sample have risk management (x̄ = 3.67) including capability (x̄ = 3.56) and customer relationship marketing (x̄ = 3.65) which operations at high level.

The entrepreneurs’ waste recycling business have controllable risk management at high level (x̄ = 3.76). The highest level of controllable risk was scared human resources (x̄ = 4.23); factor of product quality (x̄ = 3.83); raw material acquisition (x̄ = 3.73); factor of transportation cost which was more expensive than competitors (x̄ = 3.68). With regards to the uncontrollable risk management was at high levels (x̄ = 3.57) especially rapid price change in raw material recycling (x̄ = 3.93); limited import of raw material recycling for market expansion (x̄ = 3.87) and risk from recycling raw materials (x̄ = 3.42).

The entrepreneurs’ waste recycling business have the capability in business operations at high levels (x̄ = 3.56) especially capability in decision making (x̄ = 3.73); technological and innovative application (x̄ = 3.68); business entrepreneurialship outcome operations (x̄ = 3.62); communication and goods and service delivery (x̄ = 3.60); attractiveness (x̄ = 3.43); government policy access (x̄ = 3.31) respectively.

The business entrepreneurs of waste recycling market have customer relationship marketing at high levels (x̄ = 3.65) especially relationship buildup (x̄ = 3.78); relationship preservation (x̄ = 3.77); customer follow up (x̄ = 3.76); presenting and service benefit (x̄ = 3.59); listening from customers (x̄ = 3.57); communication with customer (x̄ = 3.42) respectively.

Analysis of the data found that business variable was skewness between -0.45 to -0.06 and kurtosis value was between -0.42 to 0.42. The risk management in business operations was valued of skewness between -0.46 to -0.19 and kurtosis was between 0.06 to 0.78. The capability in business operations was skewness value between -0.43 to -0.14 and kurtosis was between -0.45 to 1.00. The customer relationship marketing in waste recycling market was skewness value between -0.71 to -0.14 and kurtosis value was between -0.01 to 1.10 as every variable was suitable to use for structural equation model analysis.

The test of the relationship between the variables used for business factor analysis found that the 6 variables values was between 0.413* to 0.637*. The risk management in operations has relationship with two variables as 0.722* and risk management in business operations of 6 variables values was between 0.549* to 0.765* at statistically significant at 0.05 and customer relationship market in the recycling market.

The developed model of risk management and capability in business operations affected customer relationship in waste recycling market of entrepreneurs’ industrial park of Thailand yielded that the theoretical model was comparable with the empirical model in overall model fit measure (Chi-square/df=2.499) when consider the requirement of indicators at standard values at 0.90 or more than 0.90, each indicator namely GFI=0.975, AGFI=0.949, CFI=0.983, NFI=0.936, TLI=0.911 at statistically significant at 0.05 that is complied with the preliminary agreement before analysis data as well as indicators of RMR=0.035 and RMSEA=0.041 as values less than 0.05.

The risk management in business operations found that observable variables containing controllable risk and uncontrollable risk were parallel with latent variables of risk management in business operations. The factor loading was between 0.642 and 0.916. Each variable could be explained changeable with risk management in business operations at 41.3 to 83.9 percent.

The capability in business operations indicated that all observable variables composed of decision ability, technology and innovation, business composite outcomes, goods and service contact delivery, attractiveness, government policy access which was appropriate in business operations (latent variables) at statistically significant at 0.05 (P <0.05) with valid factor loading was between 0.545 and 0.908 and each variable can be explained the variance of the customer relationship marketing in waste recycling market was between 29.3 and 82.4 percentage.

The customer relationship in waste recycling market found that observable variables composed of relationship preservation, listening of information and opinion, customer follow up, presentation and benefit service, communication with customer which was appropriate with the customer relationship of waste recycling market (latent variables) at statistically significant at 0.05 (P <0.05) with valid factor loading was between 0.575 to 0.877 and each variable can be explained the variance of the customer relationship marketing in waste recycling market was between 33.1 and 76.8 percent. Therefore, the risk management and business in operational capability model in waste recycling market among entrepreneurs’ Thailand industrial park is composed of risk management and capability in business operations and customer relationship marketing in waste recycling market have convergent validity because the value of factor loading is over 0.30 at statistically significant at 0.05.

In case of structural model analysis in consideration for risk management and capability in business operations affected customer relationship marketing of waste recycling market in Thailand’s industrial park is as follows: (1) Factor of waste recycling business related to entrepreneurship, business operations characteristics, business operations period and risk management has direct effect to the capability in waste recycling business (P <0.05) (DE = 0.107*, 0.178*, 0.104* and 0.498*, respectively) as well as indirect effect to customer relationship in waste recycling market through business operations (P <0.05) (IE = 0.083 *, 0.138 *, 0.081 * and 0.387 *, respectively), and (2) The capability in business operations has direct effect to the customer relationship marketing in waste recycling marketing (P<0.05) (DE=0.777*).

The efficacy in forecasting prevailed that the risk management and capability in business operations modeling affected customer relationship marketing in waste recycling market among entrepreneurs’ Thailand industrial park has validity as coefficient (R2) of 60.3 percentage.

In addition, the analytical results of the model is constructed as follows:
Capability in business operations
= 0.107* characteristics of entrepreneurship + 0.026 operational process
+ 0.178* characteristics of business operations
+ 0.064 source of capital investment for business operations
+ 0.012 number of organization employees
+ 0.104* business operations period
+ 0.498* risk management; R2 = 0.248
Customer relationship marketing
= 0.777* capability in business operations; R2 = 0.603

This also provides finding for the following hypothesis:

Hypothesis 1: Factors of business operations has causal relationship with capability in waste recycling market. The results found that factors of characteristics of business entrepreneurship, characteristics of business operations, business operations period have causal relationship with capability in business operations. Therefore hypothesis 1 is accepted except process of operations, source of capital investment in business operations and organization employees which are not accepted.

Hypothesis 2: The risk management in business operations has causal relationship with capability in waste recycling market. The results found that risk management in business operations has direct effect on capability in waste recycling market (P <0.05) with the positive effect influential path coefficient of 0.498* (DE=0.498*). Therefore, hypothesis 2 is accepted.

Hypothesis 3: Factor of business in waste recycling market has causal relationship with customer relationship marketing in waste recycling market. The result found that factor of business waste recycling market in business entrepreneurship characteristics, business operations characteristics has causal relationship with customer relationship marketing in waste recycling market. Therefore, hypothesis 3 is accepted except business operations process, source of capital investment in business operations and number of employee which is not included.

Hypothesis 4: The risk management in business operations has causal relationship with customer relationship marketing in waste recycling market. The study found that the risk management and business operations has causal relationship with the indirect effect on customer relationship marketing in waste recycling market through capability in waste recycling business operations (P<0.05) with positive effect influential path coefficient of 0.387* (DE=0.387*). Therefore, hypothesis 4 is accepted.

Hypothesis 5: Capability in business operations has causal relationship with customer relationship marketing in waste recycling market. The study found that capability in business operations has causal relationship with the direct effect on customer relationship marketing in waste recycling market (P<0.05) with positive effect influential path coefficient of 0.777* (DE=0.777*). Therefore, hypothesis 5 is accepted.

In conclusion the modeling of risk management and capability in business operations effect on customer relationship marketing in waste recycling market among entrepreneurs’ Thailand industrial park in causal relationship with factor of business operations in waste recycling market of entrepreneurs’ characteristics of business entrepreneurship, characteristics of business performance. The risk management in business operations has causal relationship with capability in waste recycling business operations and customer relationship marketing in waste recycling market as well. It is not only the capability in business operations but also has causal relationship with customer relationship marketing in waste recycling market as well as the development model has compatible with the empirical model that can be estimated at good and acceptable level at 60.3 percentage that pass criteria of over 40 percentage.


ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย | Risk and Entrepreneurial Potentiality Affecting Waste Recycling Marketing of Thailand’s Industrial Park

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand