Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ประสิทธิผลของการใช้หลอดตวงลดโซเดียมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Last modified: August 30, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการใช้หลอดตวงลดโซเดียมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Title: The Effectiveness of Sodium Reductional Tube in Patients with Hypertension
ผู้วิจัย:
Researcher:
ชนิดา มัททวางกูร, ณิชมล ขวัญเมือง และขวัญเรือน ก๋าวิตู | Chanida Mattavangkul, Nichamon Kwanmueang and Kwanruen Kawitu
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สาขาที่สอน:
Major:
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารแพทย์นาวี ปีที่ 51 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2567 หน้า 256-267 | Royal Thai Navy Medical Journal Vol. 51 No. 2 (2024): May – August 2024 pp. 256-267   คลิก   PDF

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมและระดับความดันโลหิตระหว่างก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 54 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความรู้ร่วมกับนวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลอดตวงลดโซเดียมที่มีขีดบ่งบอกปริมาณของปริมาณโซเดียมที่ได้จากน้ำปลา ซีอิ๊วขาว และเกลือในระดับมาตรฐาน 2) แบบบันทึกการบริโภคโซเดียมประจำวันและค่าความดันโลหิต 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีค่า CVI เท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test

     ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมบริโภคโซเดียมในกลุ่มทดลองหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตเฉลี่ยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง (p < .001) และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (p < .001)

คำสำคัญ: หลอดตวงลดโซเดียม, พฤติกรรมการบริโภคโซเดียม, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง


Abstract

This quasi-experimental research with two groups and a pre and post-test design, aimed to compare sodium consumption behavior and levels of blood pressure before and after the experiment. The samples were patients who were diagnosed with high blood pressure according to specified criteria, aged 20 years and over, with living in Bangkok and surrounding areas. They were divided into an experimental group and a control group with54 people each. The experimental group received a knowledge program combined with innovation. Research instruments included 1) a sodium measuring tube with a scale indicating the amount of sodium obtained from fish sauce, light soy sauce and salt at standard levels;2) a daily sodium intake and blood pressure recording form; and 3) a questionnaire on behavior related to consuming foods containing sodium that had been checked for content validitywith CVI = 1 and reliability with Cronbach’s alpha = 0.95. Data were analyzed by descriptive statistics, including frequency distribution, percentage, mean and standard deviation, and inferential statistics including paired t-test and independent t-test.The research results found that the mean score of sodium consumption behavior in the experimental group in the post-experiment was lower than the pre-experiment and lower than the control group (p < .001). The average level of blood pressure in the post-experiment was lower than the pre-experiment in the experimental group and lower than the control group (p < .001).

Keywords: sodium reductional tube, sodium consumption behavior, patients with hypertension


The Effectiveness of Sodium Reductional Tube in Patients with Hypertension.. 2567 (2024). ประสิทธิผลของการใช้หลอดตวงลดโซเดียมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. บทความ (Paper). Advisor: ดร.ณิชมล ขวัญเมือง – Dr. Nichamon Kwanmueang. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. พยาบาลศาสตร์ (Nursing). พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science. พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science). Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, พยาบาลศาสตร์ (Nursing), พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science,พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)