Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

อิทธิพลของความรู้และการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร

Last modified: September 13, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของความรู้และการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร
Title: The influence of Knowledge and Self-regulation on Prevention Behavior of Foot Complications in Patients with Type II Diabetes Live in the Urban Community of Bangkok Metropolitan
ผู้วิจัย:
Researcher:
รัฐกานต์ ขำเขียว, ศนิกานต์ ศรีมณี และปรมัตถ์ กิจจานุกิจวัฒนา – Ruttakarn Kamkhiew, Sanikan Seemanee and Poramat Kitchanukitwattana
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สาขาที่สอน:
Major:
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 หน้า 204- 211 | Journal of The Royal Thai Army Nurses Vol. 25 No. 2 May – August 2024, pp. 204- 211   คลิก   PDF

บทคัดย่อ

การวิจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Correlational predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยร่วมด้านความรู้และการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การวิจัย คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และขึ้นทะเบียนรักษาโรคเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ปริมณฑลกรุงเทพมหานคร จำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบวัดความรู้ (KR-20 = .623) การกำกับตนเอง (α = .802) และพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า (α = .829) วิเคราะห์ความสัมพันธ์และวิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และการกำกับตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในระดับต่ำและปานกลาง ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .168, p < .05; r = .669, p < .001 ตามลำดับ) และการกำกับตนเองรายด้านสามารถร่วมกันทำนาย พฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ ร้อยละ 46.40

Keywords: ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท


Abstract

The objective of the correlational predictive research was to examine the predictive power of factors related to knowledge, self-regulation, and preventive behavior concerning complications in the feet of type 2 diabetes patients. The sample included individuals with type 2 diabetes aged 35 years and older, who were registered for diabetes treatment in primary care units in the Bangkok metropolitan area. The total sample size was 138 individuals. Data were collected through a questionnaire created by the researchers. The questionnaire included measures of knowledge (KR-20= .623), self-regulation (α = 0.802), and preventive behavior related to foot complications (α = 0.829). The study employed Pearson correlation and multiple linear regression statistics to analyze the relationships and predictive power of the variables, respectively.

The study found a positive correlation between knowledge and self-regulation with preventive behavior regarding foot complications in type 2 diabetes patients at low and moderate levels, with statistical significance (r = .168, p < .05; r = .669, p < .001, respectively). Additionally, self-regulation on the individual level was identified as a predictor, contributing to 46.40% of the variance in preventive behavior against foot complications.

Keywords: Foot Complications, Type II Diabetes, Urban Community


The influence of Knowledge and Self-regulation on Prevention Behavior of Foot Complications in Patients with Type II Diabetes Live in the Urban Community of Bangkok Metropolitan. 2567 (2024). อิทธิพลของความรู้และการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. บทความ (Paper). Advisor: อาจารย์รัฐกานต์ ขำเขียว – Miss Ruttakarn Kamkhiew. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. พยาบาลศาสตร์ (Nursing). พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science. พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science). Bangkok: Siam University