Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การศึกษาภาวะผู้นำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย

Last modified: November 30, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาภาวะผู้นำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย
A Study of Successful Startup Leadership in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวกิติมา หงส์ศิริกาญจน์
Miss Kitima Hongsirikarn
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี, ดร.บุรินทร์ สันติสาส์น
Asst.Prof.Dr.Chalermkiat Wongvanichtawee, Dr.Burin Santisarn
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

กิติมา หงส์ศิริกาญจน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Vongchankit V. (2019). A study of successful startup leadership in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศไทยยุค 4.0 ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันในการทำธุรกิจทวีความรุนแรงและรวดเร็วส่งผลให้ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดธุรกิจสตาร์ทอัพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพมากกว่า 75% ประสบกับความล้มเหลวในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพตั้งแต่ปีแรก และลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ มาโดยหนึ่งในสาเหตุหลักมาจากภาวะผู้นำของตัวผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเอง ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จเพียงไม่ถึง 400 ราย แม้ว่าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาท

โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 32 คน และ การทำสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง 7 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ที่สาระหลัก (Content Analysis)จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 32 คนในรูปแบบของการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ประกอบด้วย เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนผ่าน Venture Capital ในประเทศไทยในช่วงปี 2012-2017จำนวน 22 คน กลุ่มนักลงทุนที่คัดเลือกสตาร์ทอัพในการลงทุน (VC and Investors) จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  (Incubators Specialist) อีกจำนวน  7 คน โดยมีบุคคลบางกลุ่มที่มีบทบาทในการสัมภาษณ์ในครั้งมากกว่าหนึ่งบทบาท และสุดท้ายการวิจัยนี้จึงเสริมข้อมูลผ่านการทำวิจัยเชิงปริมาณโดยการทำแบบสอบถามเสริม

จากการศึกษาค้นพบว่าตัวแปรด้านภาวะผู้นำที่สำคัญประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญสามส่วนคือ ประเด็นด้านบุคลิกภาพ ด้านศักยภาพ และปัจจัยภายนอกด้านบุคคล โดยที่ข้อสรุปแต่ละประเด็นประกอบด้วย ประเด็นด้านบุคลิกภาพประกอบด้วย 5 ตัวแปรหลักคือ 1.ด้านมุมานะ 2.ด้านการเรียนรู้ 3.ด้านกล้าตัดสินใจ 4.ด้านการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ  และ 5.ด้านวิสัยทัศน์ ประเด็นด้านศักยภาพประกอบด้วย 4 ตัวแปรหลักคือ 1.ด้านการบริหารทีม 2.ด้านการควบคุมตนเอง 3.ด้านการโน้มน้าวใจ และ 4.ด้านการสร้างความสัมพันธ์ ประเด็นด้านปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 2 ตัวแปรหลักคือ 1.ทีมงาน และ 2.ลูกค้า โดยที่แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำประกอบด้วย 5 แนวทางหลักคือ 1.การพัฒนาผ่านการสร้างประสบการณ์ 2.การพัฒนาผ่านกระจกเงา 3.การพัฒนาผ่านการให้ข้อมูล 4.การพัฒนาผ่านการสร้างระบบนิเวศ และ 5.การพัฒนาผ่านการโค้ชชิ่งและระบบพี่เลี้ยง

คำสำคัญ:  สตาร์ทอัพ, ผู้นำ, ภาวะผู้นำ


Abstract

This research focused on characteristics of successful leadership in startup business in the Thailand 4.0 era and how to implant these leadership characteristic into Thais startups. According to robust changes in how to run businesses nowadays, entrepreneurs had to adjust themselves for the high and quick competition climate. Therefore, startup businesses get more attention by the government sector. However, empirical research has found out that over 75% of startup businesses failed in their first year, and continued to decrease in the year after because of entrepreneur leadership. This figure was supported by the success cases of Thailand startup businesses. There were less than 400 startups in Thailand that had succeeded in continuing their businesses, even though Thailand’s government supported over 10 billion baht to these entrepreneurs, the success rate was still low.

This research methodology adopted the qualitative method as the main methodology. The research included 32 samples of in-depth interviews and surveys, and 7 samples of focus groups by adopting triangulation method to analyze the research findings. The information was analyzed through content analysis method. The sample group was composed of 32 cases and included 22 startups who were funded by venture capitals during 2012-2017, 7 investors and venture capitals, 7 Specialists & Incubators, and some interviewees acted in multiple roles. Finally this research integrated the quantitative method to support the reliabilities of the finding.

The researchers found that under the umbella of the startups leadership, there were 3 key issues to be considered, including personalities, competencies and personal external factors. The 5 key factors of leadership personalities that affected a successful leaders personalities included; Perseverance, Learning, Openness, Decisive and Vision. The 3 key factors that impact the leaders competency included people management, self-control, persuasive and building relationship. There is 2 more external factors that affect the success of leaders, team and customer, as well. The Leadership development method included: 1.Experiencing 2.Shadowing 3.Information Giving 4.Ecosystem and 5.Coaching and Mentoring.  To summarize, this research concluded that the conceptual framework of successful startup leadership in Thailand was associated with personality, competency and external factors through proper development planning.

Keywords:  Startups, Leader, Leadership.


การศึกษาภาวะผู้นำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย | A Study of Successful Startup Leadership in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by advisor: