ชื่อบทความ: | การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
Research Article: | Achieving a Holistic Approach in Stroke Rehabilitation |
ผู้เขียน|Author: | วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด | Wattanee Panjinda & Puthawan Choocherd |
Email: | wattanee.pan@siam.edu ; puthawan.cho@siam.edu |
คณะ: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559| APHEIT Journal (Science and Technology) Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016 |
การอ้างอิง|Citation
วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด. (2559). การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 5(2), 70-78.
Panjinda W., & Choocherd P. (2016). Achieving a holistic approach in stroke rehabilitation. APHEIT Journal (Science and Technology), 5(2), 70-78.
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบองค์รวมและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการฟื้นฟูสภาพ ณ ศูนย์ ฟื้นฟูสมรรถภาพอัมพฤกษ์-อัมพาตและปฏิบัติธรรมวัดทุ่งบ่อแป้น ซึ่งนอนพักที่วัด มีญาติให้การดูแล และยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 10 ราย ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า วิธีการดูแลแบบองค์รวมจากกิจกรรมที่ศูนย์ฯดำเนินการ มีลำดับการให้ผลต่อความก้าวหน้าในการฟื้นฟูสภาพ ได้แก่ 1.การฟื้นฟูสภาพตามแนวแพทย์แผนปัจจุบัน 2.การดูแลของบุคคลในครอบครัวหรือญาติ 3.การเยี่ยมตรวจรายวันของพยาบาล 4.การฟื้นฟูสภาพด้านภูมิปัญญาไทย และ5. บรรยากาศและสภาพแวดล้อมผู้ป่วยรับรู้ต่อวิธีการดูแลแบบองค์รวมว่า การทำกายภาพบำบัดช่วยให้สภาพร่างกายมีการทรงตัวและเคลื่อนไหวดีขึ้น การตรวจเยี่ยมรายวันของพยาบาล ช่วยเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองและการประเมินความก้าวหน้าของการฟื้นฟูสภาพ การแช่น้ำสมุนไพรอุ่นๆและการนวดประคบ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การเดินบ่อเลนช่วยเพิ่มกำลังขา การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เริ่มเห็นผลหลังจากผู้ป่วยเข้ามาบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ทั้งด้านการสื่อสาร การช่วยเหลือตนเอง การได้สวดมนต์และปฏิบัติธรรมประกอบกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติช่วยให้จิตที่ยังดิ้นรนระส่ำระสาย ลดการปรุงแต่ง สงบและเข้มแข็งมากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพพบว่า เพศชายมีการฟื้นฟูสภาพทางกล้ามเนื้อดีกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงมีพฤติกรรมในการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยดีกว่าเพศชาย ด้านอายุพบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของระบบประสาท เนื่องจากการงอกของเซลล์ประสาทที่ดีเพื่อทดแทนส่วนที่บาดเจ็บและการเชื่อมต่อลดน้อยลง ผู้มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรคมากขึ้น ด้านระดับการศึกษาพบว่า ผู้มีระดับการศึกษาสูงจะมีการแสดงออกถึงการใช้เหตุผลเพื่อยอมรับการเจ็บป่วยมากกว่า ด้านรายได้ครอบครัวพบว่า ความพร้อมทางการเงินทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลต่อการจะถูกครอบครัวทอดทิ้ง และมีพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสมมากขึ้น
คำสำคัญ: การฟื้นฟูสภาพโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลแบบองค์รวม
ABSTRACT
This qualitative study aimed to study the holistic approach and the factors of stroke rehabilitation that affecting the development in physical, mind, environment and soul of the stroke patient. The data was collected during April and May 2 0 1 4 in observation and interview with ten stroke patients who were willing and accepted this inspection. All patients with caring of their family members, they stayed over and taking treatment at Wat Thungbopean.
The data analyze is using the content analysis as the domain. The result found that activities organized by the Centre improves stroke patients from five different factor: 1) Improving according to the modern medication.2) Nurture by family members and relative. 3) Daily visiting by the nurse. 4) Thai traditional treatment. 5 ) Atmosphere and environment. Physiotherapy respond in improving balance and movement of the body .A daily visiting by the nurse empower the patient’s spirit as well as patients’ relative in self-help and analyze the progress of treatment. The herbs which applied along with massaging in Thai-traditional manner as well as body-soaking in warm-water relax, release and active the muscles and blood-circulation. Practice of walking in muddy field helps in stimulating the energy and action of legs. The better changes in body and mind can be noticed in patients who are taking treatment more than a month at the Centre. Communication skill, self-help, praying and meditation in a good and natural environment help to find the peace of mind.
The results of the treatment found: – muscle development in male-gender is more effective than the female-gender, but the reaction of behavior-adaption is more improved in female- gender. The age factor is one of domain in development of nervous system, as the young-age patient; dendrite can grow and develop better than the aged patient. A good and cheerful spirit of the patients made and encouraged by the support and relationship of their family members. The literacy patients can take more reasons to support themselves, as well as a well financial support from family builds a confidence to successful treatment.
Keywords: Holistic approach, Stroke Rehabilitation.
การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง|Achieving a Holistic Approach in Stroke Rehabilitation
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand