การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังด้วยแนวคิดพฤฒพลัง

Last modified: October 5, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ด้วยแนวคิดพฤฒพลัง
Research Article: The Concept of Active Ageing and Capacity Development of Ageing Living Alone
ผู้เขียน/Author: วิภานันท์ ม่วงสกุล | Wipanun Muangsakul
Email: wipanun.mua@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 (ก.ค. –ธ.ค. 2558) หน้า 93-112 | Journal of Social Research Vol. 38 No. 2 (2015): July – December 2015 p.93-112

การอ้างอิง/citation

วิภานันท์ ม่วงสกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ด้วยแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารวิจัยสังคม, 38(2), 93-112.

Muangsakul W. (2015). The concept of active ageing and capacity development of ageing living alone. Journal of Social Research, 38(2), 93-112.


บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ การเตรียมความพร้อมให้กับคนทุกวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เป็นผู้ที่สามารถพึ่งพาตนเองและทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดพฤฒพลัง (Active Ageing) ขององค์การอนามัยโลก อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็นผู้สูงอายุที่มีพลัง ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ 1) มีสุขภาพที่ดี (Healthy) 2) มีความมั่นคงหรือการมีหลักประกันในชีวิต (Security) และ 3) มีส่วนร่วม (Participation) โดยผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีพฤฒพลัง (Active Ageing) เช่นกัน เริ่มจากผู้สูงอายุ ต้องส่งเสริมให้เกิดการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรคหรือความเจ็บป่วยที่มี ตลอดจนกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ และมีกลุ่มในสังคมโดยอาศัยเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อสังคมให้กับผู้สูงอายุเหล่านี้ ให้ได้ทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น ทำให้ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือหว้าเหว่ ในด้านครอบครัวควรให้การยอมรับนับถือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ไปมาหาสู่หรือเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุเหล่านี้ ด้านชุมชนควรเปิดโอกาสให้มีพื้นที่ในชุมชนให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุด้วยกันเองหรือพหุวัย เพื่อให้เกิดการความสัมพันธ์ของคนในชุมชน รวมถึงส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และเสริมรายได้ให้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ตลอดจนรัฐบาลต้องวางแผนงานในทุกหน่วยงานเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะด้านสุขภาพและรายได้

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง, พฤฒพลัง, การพัฒนา


ABSTRACT

Ageing peoples who are living alone are tending to be increased in nearly future. This might be the consequences from the transformation and adaption of social life and economic. It could be saidthat preparation of being an ageing people are really important for every generation of people as it will leads most of people to be able to be on their own in elderly period. Active ageing has been introduced by the WHO as they also concern about preparation of being an ageing people. Active ageing is consists of 3 factors including 1.) Healthy 2.) Security and 3.) Participation. It could be said that those elderly who lives alone should be advised to know about Active Ageing activities such as how to live with their disease or illness even provokes to do their routine activities by them-self. Furthermore, a club or group of people should be introduced to support elderly people to get in touch with technology in present day as this will help those elderlypeople to catch up with social and people This technology might help in reduction of loneliness in these elderly people. Furthermore, praises or visiting by their family members also help in reduction of stress and loneliness. In the view of social, social activities should be promoted and multi generation of people in community should be invited. This will help in creation of relationship of people in their community, reduce stress and loneliness of elderly people and also generate incomes to elderly people who live alone. Lastly, government should be in an important role to design the plan to support those elderly people in both quality of health and their income.

Keywords: Ageing Living Alone, Active Ageing, Development.


การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ด้วยแนวคิดพฤฒพลัง|The Concept of Active Ageing and Capacity Development of Ageing Living Alone

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 795
Previous: การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Next: ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles