ชื่อบทความ: | การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ |
Research Article: | Application of the Electromagnetic Gun for Projectile Motion Testing |
ผู้เขียน/Author: | คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์ | Kanit Thongpisisombat and Phuttatida Chaisawas |
Email: | |
สาขาวิชา/คณะ: | ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty: | Department of Physics, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 (Academic Science and Technology Conference: ASTC) “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2560 |
การอ้างอิง|Citation
คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์. (2560). การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 (หน้า 582-586). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Thongpisisombat K., & Chaisawas P. (2017). Application of the electromagnetic gun for projectile motion testing. In ASTC 2017: Academic Science and Technology Conference 2017 (pp. 582-586). Bangkok: Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างปืนแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับใช้ในการทดลอง เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่มีความแม่นยำในการวัดที่สูงขึ้น โดยโครงสร้างของปืนแม่เหล็กไฟฟ้าทำจากท่ออลูมิเนียมท่ออลูมิเนียมยาว 56 cm มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกและภายใน 8 mm และ 6 mm ตามลำดับ พันด้วยสายไฟ AWG เบอร์ 20 เป็นขดลวดโซลินอยด์จำนวน 3 ชั้น (ชั้นละ 33 รอบ) ตัวโพรเจกไทล์ เป็นวัสดุเฟอร์โรแมกเนต คือ ดอกสว่างทำเกลียวเบอร์ 3 ขนาด 3 g โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 50 V ให้กับตัวเก็บประจุ 3✖104 μF โดยใช้ตัวเรียงกระแสชนิดควบคุมด้วยซิลิคอน (SCR) เป็นอุปกรณ์สวิทซ์ควบคุมกระแสภายในขดลวดโซลินอยด์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานจลน์ของโพรเจกไทล์ โดยความเร็วของโพรเจกไทล์คำนวณได้จากความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งการกระจัดในแนวราบและแนวดิ่ง (x,y) และใช้เวลาจากเครื่องจับเวลาโฟโต้เกตระบบดิจิตอล (digital photogate timer) เท่ากับ 3.113 m/s และ 3.571 m/s ตามลำดับ เมื่อคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของทั้งสองวิธีมีค่า 13.67%
คำสำคัญ: การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์, ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า
ABSTRACT
The designed and experiment setup of the electromagnetic gun were to improve measurement accuracy in projectile motion. The magnetic gun made from an aluminum tube is 56 cm long, 8 mm and 6 mm for outer and inner diameter respectively. The end of a tube was bound by AWG cable made for 3 layers (33 rounds/layer) as a solenoid. For the projectile mass testing is a ferromagnetic material screw nail in which a 3 g weight and 5 cm long. The DC power supply with 50 volt charged to the 3✖104 μF capacitor and Silicon Control Rectifier (SCR) is a current controller in solenoid by charging by the electromagnetic into kinetic energy for the projectile. The velocity of projectile was calculated from the slope of x,y positions plot and using a digital photogate timer. The results showed that both methods were 3.113 m/s and 3.571 m/s which corresponds to the percentage difference is 13.67%.
Keywords: projectile motion, electromagnetic gun.
การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์|Application of the Electromagnetic Gun for Projectile Motion Testing
Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand