ชื่อบทความ: | การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: การวิจัยเชิงคุณภาพ |
Research Article: | Compliance with Personal Data Protection Law in the Provision of Telepharmacy Service: Qualitative Research |
ผู้เขียน|Author: | กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, ชวิน อุ่นภัทร, ปรุฬห์ รุจนธํารงค์, ชลธิชา สลักศิลป์, ศุภาพิชญ์ ศิริมงคล, กนกวรรณ แย้มหงษ์ และชินวัจน์ แสงอังศุมาลี| Kamolwan Tantipiwattanasakul, Chawin Ounpat, Parun Rutjanathamrong, Chontichar Salaksin, Supapit Sirimongkol, Kanokwan Yamhong and Shinnawat Saengungsumalee |
Email: | kamolwan.tan@siam.edu ; shinnawat@siam.edu |
สาขาวิชา|คณะ: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565 หน้า 495-507 | Public Health Policy & Law Journal Vol. 8 No. 3 September-December 2022 p.495-507 |
การอ้างอิง|Citation
กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, ชวิน อุ่นภัทร, ปรุฬห์ รุจนธํารงค์, ชลธิชา สลักศิลป์, ศุภาพิชญ์ ศิริมงคล, กนกวรรณ แย้มหงษ์ และชินวัจน์ แสงอังศุมาลี. (2565). การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(3), 495-507.
Tantipiwattanasakul K., Ounpat C., Rutjanathamrong P., Salaksin C., Sirimongkol S., Yamhong K., & Saengungsumalee S. (2022). Compliance with personal data protection law in the provision of telepharmacy service: Qualitative research. Public Health Policy & Law Journal, 8(3), 495-507.
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการให้บริการเภสัชกรรมมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลมากขึ้น การให้บริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน อาจก่อความเสียหายให้แก่ผู้มารับบริการ ผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกลจึงต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลและมีความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจํานวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือผู้วิจัยและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้แก่ การแจ้งข้อมูลผู้ให้บริการให้กับผู้รับบริการทุกครั้ง แจ้งวัตถุประสงค์ สอบถามความยินยอมของผู้รับบริการก่อนเก็บข้อมูล บันทึกเสียงหรือวิดีโอและขอความยินยอมของผู้รับบริการก่อนบันทึกทุกครั้ง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลคือเจ้าของร้านและเภสัชกร ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกําหนดโดยเจ้าของร้าน อุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คือการทํามาตรการรักษาความปลอดภัย สรุปผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกลส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนตามข้อกฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ดังนั้นผู้กําหนดนโยบายควรเร่งออกแนวทางการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
คำสำคัญ: การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ABSTRACT
In the present day, pharmaceutical care services tend to change to tele-pharmacy. This service involves sensitive personal data that may be detrimental to clients. Tele-pharmacy service providers are required to comply with the Personal Data Protection Act. The purpose of this study was to analyze the implementation of the Personal Data Protection Act B. E. 2562 in the tele-pharmacy service of pharmacists. This study was a qualitative research, throughin- depth interviews with 9 key informants, involved in tele-pharmacy services, who understood the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019). Research instrument was semi- structured interview. Data were analyzed by content analysis. The results indicated that the procedures for tele-pharmacy service must comply with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019), such as always inform clients of service provider’ s information. Always inform the objectives of personal data collection, and ask for consent before collecting data, or recording audio / video. The data controller was the pharmacy owners and the pharmacists. The pharmacy owners determined the data processor. The barrier to comply with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) was implementing securitymeasures to obtain personal data. In conclusion, most tele-pharmacy service providers can comply with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019). Therefore, policy makers should urgently develop guidelines for tele-pharmacy services related to the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019).
Keywords: Tele-pharmacy, Personal Data Protection Act B.E. 2562.
การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: การวิจัยเชิงคุณภาพ|Compliance with Personal Data Protection Law in the Provision of Telepharmacy Service: Qualitative Research
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand