Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฐานอลูมิเนียมหล่อสำหรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

Last modified: December 20, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฐานอลูมิเนียมหล่อสำหรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
Defective Reduction of Aluminum Base Casting Part for Hard Disk Drive Manufacturing: A Case Study of a Hard Disk Drive Manufacturing Factory
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวจีราภรณ์ จันทร์ศรี
Miss Jeeraporn Junsri
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาทิตย์ โสตรโยม
Asst. Prof. Dr. Arthit Sode-Yome
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (RSUSCI 2021) | The 11th RSU National Conference and the 6th RSU International Conference on Science and Technology (RSUSCI 2021)

การอ้างอิง|Citation

จีราภรณ์ จันทร์ศรี. (2564). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฐานอลูมิเนียมหล่อสำหรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Junsri J. (2021). Defective reduction of aluminum base casting part for hard disk drive manufacturing: A case study of a hard disk drive manufacturing factory. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5” ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนฐานรองของอุปกรณ์นี้

เครื่องมือที่นำมาใช้ในการลดของเสียของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จะใช้เทคนิคเครื่องมือคุณภาพประกอบด้วย แผ่นตรวจสอบ แผนภูมิพาเรโต และเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาสาเหตุและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สรุปจากผลการปฎิบัติงาน

ผลการศึกษาการลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ พบว่า ของเสียก่อนปรับปรุงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม ปี ค.ศ 2018 ทั้งหมดจำนวนเฉลี่ย 2,930 ชิ้นต่อเดือน หลังจากการวิเคราะห์ของเสีย พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียจำนวนสูงที่สุดมี 2 ประเภท ได้แก่ วัตถุแปลกปลอม จำนวน 9,833 ชิ้น หรือทั้งสองรายการนี้คิดเป็นร้อยละ 33.6 และ เศษชิปติด จำนวน 8,939 ชิ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 30.5 จากของเสียทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 64.1 ภายหลังจากการปรับปรุงโดยเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา ได้ทำการแก้ไขเปลี่ยนตะกร้าจากพลาสติกเป็นตะกร้าเหล็กเพื่อป้องกันวัสดุจากพลาสติกติดบนตัวชิ้นงาน และได้ทำการเปลี่ยนชนิดของเครื่องมือสำหรับตัดชิปมีลักษณะยาว เป็นเครื่องมือสำหรับตัดชิปเพื่อให้ตัดเศษชิปให้มีลักษณะสั้นลง ผลจากการปรับปรุงสรุปได้ว่า หลังจากการปรับปรุงของเสียลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 500 ชิ้น คิดเป็นการลดของของเสียถึงร้อยละ 82.9

คำสำคัญ: การลดของเสีย, ส่วนฐานอลูมิเนียม, ฮาร์ดดิสก์


Abstract

This objective of this research was to reduce defectives generated during the manufacturing of 3.5” hard disk drive components in a manufacturing plant for supporting base parts of this device. The tools used to reduce the defectives in this manufacturing process were check sheets, pareto charts, and problem analysis techniques. The tools were used to find causes of the problems so improvement methods could be identified.

The analytic results of this research indicated that the total defective parts before the improvement between January and October, 2018 amounted to an average of 2,930 pieces per month. There were 2 important types of the defects: foreign materials and ED chips stuck on the workpieces. The amount of defects caused by the two causes were 9,833 pieces or 33.6%, and 8,939 pieces or 30.5%, respectively for the total of 64.1%. After utilizing problem analysis techniques, steel baskets were used to replace the existing plastic ones. This prevented plastic material from sticking on the workpieces. Also drilling tools used to drill the workpieces were changed to chip break to prevent the longer chips from getting stuck on the workpieces. The results indicated that the defects were reduced to 500 pieces per month, or 82.9% reduction.

Keywords:  Defect Reduction, Base Casting, Hard Disk Drive.


การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฐานอลูมิเนียมหล่อสำหรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
Defective Reduction of Aluminum Base Casting Part for Hard Disk Drive Manufacturing: A Case Study of a Hard Disk Drive Manufacturing Factory

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand