Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Last modified: October 6, 2022
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Development of administrative model for internal educational quality assurance of Training Centers under Royal Thai Police
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พันตำรวจโทหญิงระพีพร เอียงอุบล
Pol.Lt.Col. Rapeeporn Eang-ubol
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร.พล.ร.ต.หญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์, ดร.คมศร วงษ์รักษา
Asst.Prof.R.Adm. Supathra Urwongse, WRTN., Ph.D., KomsornWongrugsa, Ph.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

ระพีพร เอียงอุบล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Eang-ubol R. (2017). Development of administrative model for internal educational quality assurance of Training Centers under Royal Thai Police. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู/อาจารย์ และบุคลากรสายงานสนับสนุน 306 คน จากกองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-8 ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 20 คน จากกองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1, 3, 4 (2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 10 คน จากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กองบัญชาการศึกษา

กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง วิทยาลัยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ และกรมแพทย์ทหารเรือ และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2, 3 และ 8 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.81, S.D. = .72) ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวางแผน (x̄ = 3.87, S.D. = .70) โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายในมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄ = 3.89, S.D. = .72) สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการอำนวยการและการสั่งการ (x̄ = 3.74, S.D. = .77) ซึ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ = 3.69, S.D. = .85)

2. ปัญหาการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ภาพรวมมีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.52, S.D. = .85) ซึ่งด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยของปัญหาสูงกว่าทุกด้าน (x̄ = 2.60, S.D. = .89) โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายใน (x̄ = 2.63, S.D. = .93) สำหรับด้านการควบคุม มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 2.46, S.D. = .87) ซึ่งการประเมินคุณภาพภายในมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ = 2.45, S.D. = .93)
3. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการขับเคลื่อนโดยประยุกต์ใช้กระบวนการบริหาร PODC ในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่สัมพันธ์กัน 3 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งพบว่า

3.1การวางแผน เป็นการกำหนดนโยบาย กำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย แนวทาง/วิธีการ ระยะเวลา เครื่องมือ รูปแบบการรายงาน งบประมาณและทรัพยากร โดยคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ จากกองบัญชาการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1 – 8 ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

3.2 การจัดองค์การและการจัดคนเข้าทำงาน มีการจัดโครงสร้างโดยเพิ่มฝ่ายประกันคุณภาพของศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งมีผู้กำกับการ เป็นหัวหน้า และแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และกรรมการ ในการบริหารการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งยึดหลักการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม และการกระจายอำนาจ ของบุคลากรทั้งในส่วนกองบัญชาการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1 – 8 ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 ชุด ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารการประกันคุณภาพภายใน 2) คณะกรรมการสถานศึกษา และ 3) คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน คณะอนุกรรมการ 4 ชุด ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) คณะอนุกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 3) คณะอนุกรรมการประเมินคุณภาพภายใน และ 4) คณะอนุกรรมการรับผิดชอบตัวบ่งชี้ รวมทั้งกรรมการประเมินอภิมาน

3.3การอำนวยการและการสั่งการ เป็นการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และการฝึกอบรม โดยฝ่ายวิชาการประกันคุณภาพ และฝ่ายประกันคุณภาพ รวมทั้งการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานโดยคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของแต่ละชุด

3.4 การควบคุม เป็นการรายงานการดำเนินการต่อผู้บังคับบัญชาตามสายงาน และ คณะกรรมการ รวมถึงคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ และการประชุมบริหารรายเดือนหรือในกรณีเร่งด่วน เพื่อควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

4.ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพ เห็นว่ารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การประกันคุณภาพภายใน, ศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


Abstract

The objectives of this study were to: 1) investigate current conditions and problems; 2) develop the administrative model of internal quality assurance management for training centers under Royal Thai Police. The samples used in this study were divided into 2 groups: (1) the sample who investigated the conditions and problems of internal quality assurance management comprised 306 administrators, teachers, lecturers and support personnels from the Central Police Training Division, Training Center Provincial Police Region 1-8, Training Center Southern Border Provinces Police Operation Center and 20 people from the Central Police Training Division, Training Center Provincial Police Region 1, 3 and 4; (2) The sample who developed the model of internal quality assurance management comprised 10 quality assurance experts from Stamford International University, Kasetsart University, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Police Education Bureau, Central Police Training Division, Police College, Royal Police Cadet Academy, Police Nursing College and Naval Medical Department together with 20 educational administrators from Training Center Provincial Police Region 2, 3 and 8. The tools used in the research were interview forms, questionnaires and focus group discussion. Data were analyzed by descriptive statistics which were percentage, mean and standard deviation whereas qualitative analysis was carried out by content analysis and drawing conclusions.

Research results:

1.The overall performance of internal quality assurance management of training centers Royal Thai Police was at a high level (x̄ = 3.81, S.D. = 0.72). The highest mean was the planning aspect (x̄ = 3.87, SD = 0.70). In particular, the internal quality assurance aspect was the highest (x̄ = 3.89, SD = 0.72) whereas the direct and order aspect was the least. (x̄ = 3.74, SD = 0.77). The development of education quality was the lowest (x̄ = 3.69, SD = 0.85).

2.Problems of internal quality assurance management of training centers Royal Thai Police were found to be moderate overall (x̄ = 2.52, S.D. = 0.85). The planning aspect was higher than all other aspects (x̄ = 2.60, S.D. = 0.89) especially, the internal quality assurance (x̄ = 2.63, S.D. = 0.93). For the control aspect the problem was low (x̄ = 2.46, S.D. = 0.87) where the internal quality assessment was the least (x̄ = 2.45, S.D. = 0 .93).

3.The development of the internal quality assurance management model of training centers Royal Thai Police was driven by the application of the PODC management process to implement three dimensions which are the development of quality education, monitoring and internal quality assessment. It was found that:

3.1 Planning is carried out by the Board and various subcommittees from the Education Command, Provincial Police Training Center Region 1 – 8, Southern Border Provinces Police Training Center, Central Police Training Division and external experts to issue a policy, set up education standards, prepare internal quality assurance guidelines, identify objectives/goals guidelines/methods, time frame, tools, report format, budget and resources.

3.2 Restructuring organization and work placement is carried out by establishing the Quality Assurance Department of the Training Center which is directed by the supervisor. Appointing the Board and subcommittees for Internal Quality Assurance Management is based on the principles of participation, responsibility, teamwork and decentralization of personnel from Provincial Police Training Center Region 1 – 8, Southern Border Provinces Police Training Center, Central Police Training Division and external experts. There are three committees: 1) Internal Quality Assurance Administrative Committee, 2) School Board and 3) Internal Quality Assurance Committee. The four subcommittees on Quality Assurance comprise: 1) Subcommittee on Quality Assurance development, 2) Subcommittee on Education Quality monitoring, 3) Subcommittee on Internal Quality Assurance, 4) Subcommittee on Indicators including the evaluation committee.

3.3 Directorate and order is carried out by the Academic Quality Assurance department and the Quality Assurance department in order to raise awareness and understanding and to conduct training. Supervision, monitoring and following up was done by the committees and subcommittees of each group.

3.4 Control is to report the actions taken whether the operation meets the plan to the supervisors and their committees, subcommittees on a basis of monthly or urgent meetings.

4. Confirmation of the internal quality assurance management model of training centers Royal Thai Police by the persons who are responsible for quality assurance indicates the high level of appropriateness, feasibility and benefits of the model.

Keywords:  Internal quality assurance, Training Centers under Royal Thai Police.


การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ | Development of administrative model for internal educational quality assurance of Training Centers under Royal Thai Police

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand