Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม

Last modified: February 19, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม
Effectiveness of Bangkok’s Political Communication in a Digital Platform
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายปิยะพล พวงแก้ว
Mr. Piyapon Pongkaew
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล
Asst. Prof. Dr. Jidapa Thirasirikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL: Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน Conference
Conference Proceedings
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2563 ในหัวข้อ “Politics and Administration for Sustainable Development in the Global Society ”(การเมืองกับการบริหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประชาคมโลก) ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยสยาม

การอ้างอิง/Citation

ปิยะพล พวงแก้ว. (2564). ประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Pongkaew P. (2021). Effectiveness of Bangkok’s political communication in a digital platform. (Master’s independent study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ ใช้ประชากรในกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง คือ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุด้วยวิธีการ Stepwise ผลการศึกษาพบว่า ระดับประสิทธิผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานคร ในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยผู้ส่งสาร X1 ปัจจัยช่องทางการสื่อสาร X2 ปัจจัยข้อมูลข่าวสาร X3 ปัจจัยผู้รับสาร X4 มีผลเชิงบวก และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: ประสิทธิผล, การสื่อสารทางการเมือง, ดิจิทัลแพลตฟอร์ม


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the level of effectiveness of political communication in Bangkok in a digital platform; and 2) to study the factors affecting the effectiveness of Bangkok’s political communication in a digital platform. This research was a quantitative research and studied the factors affecting the effectiveness of Bangkok’s political communication in a digital platform. The research population was people lived in Bangkok and the number of samples were 400. The research employed the questionnaire as a tool of collecting information. Descriptive statistics utilized in the study were frequency, percentage, Mean and standard deviation, and inferential statistics was Pearson’s correlation coefficient analysis and Multiple Regression (Stepwise). The results showed that the level of effectiveness in political communication of Bangkok Metropolis in a digital platform in Bangkok was moderate. The hypothesis testing found that sender factor (X1), communication channel factor (X2), information factor (X3), and receiver factor X4 had positive affect and could jointly predict the effectiveness of Bangkok’s Political Communication in Digital Platforms at the .05 level of statistical significance.

Keywords:  Effectiveness, Political Communication, Digital Platform.


ประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม|Effectiveness of Bangkok’s Political Communication in a Digital Platform

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand