ชื่อบทความ: | ประสิทธิผลบางส่วนของการฝึกสติรูปแบบวิปัสสนาในผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ |
Research Article: | Partial Effectiveness of Vipassana Meditation Practice in Alcoholics Addiction Patients |
ผู้เขียน|Author: | นวลน้อง วงศ์ทองคำ, สีอรุณ แหลมภู่, พุทธวรรณ ชูเชิด และ สุวรรณา เชียงขุนทด | Nualnong Wongtongem, See Arun Lam Phu, Puthawan Choocherd & Suwanna Chiangkuntod |
Email: | puthawan.cho@siam.edu |
คณะ: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติครั้งที่ 18 ปี 2560 “น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน” วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2560 | ASEAN Conference 2017 Embracing the King’s Philosophy on Sustainable Measures Against Drug Abuse Problems |
การอ้างอิง|Citation
นวลน้อง วงศ์ทองคำ, สีอรุณ แหลมภู่, พุทธวรรณ ชูเชิด และ สุวรรณา เชียงขุนทด. (2560). ประสิทธิผลบางส่วนของการฝึกสติรูปแบบวิปัสสนาในผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติครั้งที่ 18 ปี 2560. ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี.
Wongtongem N., Lam Phu S., Choocherd P., Chiangkuntod S. (2017). Partial effectiveness of vipassana meditation practice in alcoholics addiction patients. In ASEAN Conference 2017 Embracing the King’s Philosophy on Sustainable Measures Against Drug Abuse Problems. Pathum Thani: Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment.
บทคัดย่อ
ผู้เสพติดแอลกอฮอล์มักจะดื่มเพื่อจัดการกับอารมณ์ทางด้านลบที่เกิดขึ้น แต่กลับส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลับไปดื่มซ้ำและกลายเป็นผู้เสพติดแอลกอฮอล์ตลอดชีวิต การศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการฝึกสติ (mindfulness) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเสพติดแอลกอฮอล์แต่มีจำนวนไม่มากนัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึกสติรูปแบบวิปัสสนา (Vipassana mindfulness) ในผู้เสพติดแอลกอฮอล์เพื่อลดภาวะซึมเศร้า ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ และเพิ่มการตอบสนองการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathetic responses) ที่เข้ารับการบบัดในศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี การศึกษาใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน (mixed methods) โดยการเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบและการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (focus group interview) การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยชายที่เสพติดแอลกอฮอล์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ผู้เข้าศึกษาได้ตอบแบบสอบถามก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการทดลอง 1 สัปดาห์ และภายหลังสิ้นสุดกิจกรรม 1 เดือน และการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยจากกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน กิจกรรมการทดลองใช้การฝึกสติรูปแบบวิปัสสนา (Vipassana mindfulness) โดยการนั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม วันละ 2 ชั่วโมง ทำต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 5 วัน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติที (paired t-test) และไคสแควร์ (chi-squared test) เพื่อเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองมีคุณลักษณะส่วนบุคคล คะแนนการดื่มแอลกอฮอล์ และระดับความซึมเศร้าไม่แตกต่างกัน และภายหลังการทดลอง พบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลต่างของคะแนนฯไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการรู้คิด (cognitive) และคะแนนความซึมเศร้าลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) จากการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย พบว่ากลุ่มตัวอย่างไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการฝึกสติอย่างต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดการศึกษา ซึ่งอาจเป็นผลให้การฝึกสติรูปแบบวิปัสสนาไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังเคยมีประสบการณ์ฝึกสติซึ่งอาจมีผลรบกวนประสิทธิผลของการฝึกวิปัสสนาในการวิจัยครั้งนี้
คําสําคัญ: ผู้เสพติดแอลกอฮอล์, การฝึกสติรูปแบบวิปัสสนา
ประสิทธิผลบางส่วนของการฝึกสติรูปแบบวิปัสสนาในผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์|Partial Effectiveness of Vipassana Meditation Practice in Alcoholics Addiction Patients
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand