Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ

Last modified: October 28, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ
People Participation in the Election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District
ชื่อนักศึกษา:
Author:
เรืองรัศมิ์  ระณีโย
Ruengrut    Raneeyo
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล
Asst. Prof. Dr. Jidapa Thirasirikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566
2023
URL: Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Journal of Modern Learning Development, Vol. 9 No. 6 2023

การอ้างอิง/Citation

เรืองรัศมิ์  ระณีโย. (2566). การมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ปี 2565 ของประชาชนในเขตภาษีเจริญ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ปี 2565  3) เพื่อเสนอแนะในการเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีสิทธิในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ เขตภาษีเจริญ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า1) ระดับการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพของประชาชนในเขตภาษีเจริญโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ  อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกันการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.00 3) ปัจจัยพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยด้านสถาบันทางการเมืองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และ 4) ข้อเสนอแนะในการวิจัยได้แก่ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร รวมทั้งพรรคการเมือง ควรมีบทบาทในการส่งเสริมการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนกลุ่มและควรส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผ่านสื่อทั้งในรูปแบบช่องทางสื่อโทรทัศน์ และ สื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของกลุ่มเป้าหมายเป็นไปอย่างทั่วถึง

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้ง  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร


Abstract

     The research’s objectives were: 1) to study level of people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District; 2) to study factors affecting people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District; and 3) to suggest guidelines to promote people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District. The research was quantitative research. The population and samples were people with voting right in the election of Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District. The research utilized a questionnaire as a tool to collect data from 400 samples. The statistical techniques were frequency, percentage, Mean, standard deviation, t-test, F-test and Pearson’s Correlation.

     The result were as follows: 1)  level of people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District was at a high level; 2) The differences in sex , age, education and occupation were related to difference in people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District at the statistical significance level of 0.05; 3) media perception behavior factor and institution factor were correlated with people participation in the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District at the statistical significance level of 0.05; 4) The research suggestions were that public sector ,related public organizations and political parties should support and promote in educating people knowledge about importance of the election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors by using appropriate television and internet media to widely communicate to target voters.

Keywords: participation, election, Bangkok Metropolitan Governor, Bangkok Metropolitan Councilors


การมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของประชาชนในเขตภาษีเจริญ | People Participation in the Election of  Bangkok Metropolitan Governor and Bangkok Metropolitan Councilors in Phasi Charoen District

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand