ชื่อโครงงาน: Project Title: |
แยมเงาะแกนสับปะรด Rambutan Mix Pineapple Core Jam |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายจิระสมบัติ สมบัติจันทร์ Mr. Jirasombat Sombatjan |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์นันทินี ทองอร Ms. Nantinee Thongorn |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2563 3/2020 |
การอ้างอิง|Citation
จิระสมบัติ สมบัติจันทร์. (2563). แยมเงาะแกนสับปะรด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Sombatjan J. (2020). Rambutan mix pineapple core jam. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.
บทคัดย่อ
จากการที่ได้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ โรงแรมมิลเลนเนียน ฮิลตัน กรุงเทพ ในแผนกโรงอาหาร ผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาจากการที่มีผลไม้เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งผลไม้บางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นานเพราะเนื่องจากเป็นของสด เช่น เงาะ มังคุด ลำไย สับปะรด มะละกอ เป็นต้น โดย เงาะ นั้นเป็นผลไม้ที่มีเหลือมากที่สุด ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยการนำผลไม้ที่เหลือมาทำเป็นแยม ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงงานคือ 1) เพื่อศึกษาการทำแยมในรูปแบบใหม่ 2) เพื่อเป็นการช่วยลดการทิ้งขยะสดจำพวกผลไม้ 3) เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการซื้อแยมของทางโรงแรม โดยแยมที่นำมาทำนั้นเป็นการนำเงาะมาผสมกับตัวแกนสับปะรดที่หั่นเป็นลูกเต๋า ซึ่งสับปะรดจะเป็นตัวเพิ่มรสชาติที่เปรี้ยวอมหวานให้กับตัวเงาะ และตัวแกนสับปะรดยังเป็นตัวเพิ่มเนื้อสัมผัสให้กับแยมได้เป็นอย่างดี
ผู้จัดทำได้ทำการสำรวจแบบความพึงพอใจของแยมเงาะแกนสับปะรด จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานของโรงแรม จำนวน 25 คน เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงาน พบว่าพนักงานของโรงแรมมีความพึงพอใจมากในด้านของความสะอาด ปริมาณของแยมเนื้อสัมผัสรสชาติแยม รองลงมาคือสีสันและกลิ่นของแยม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโครงงานแยมเงาะแกนสับปะรด มีความพึงพอใจรวมอยู่ที่ระดับมาก
คำสำคัญ: แยม, เงาะ, แกนสับปะรด
Abstract
During work at the Millennian Hilton Bangkok in the canteen department, the intern saw the problem of a large amount of fruit wasted each day. Some fruits cannot be stored for a long time because they are fresh, such as
rambutans, mangosteens, longans, pineapples and papayas. Rambutan was the fruit that had the most leftovers, therefore, the intern found a solution to the problem by bringing the remaining fruit to make jam. The objectives of the project were: 1) to study new forms of jam making; 2) to reduce the waste of fresh fruit; 3) to help reduce the cost of purchasing jams at the hotel. The jam was made with rambutan mixed with a diced pineapple core. The pineapple adds a sweet and sour taste to the rambutan, and the pineapple core is also a great addition to the texture of the jam.
The author conducted a satisfaction survey of rambutan mix pineapple core jam from a sample of 25 hotel employees to know the results of the project. It was found that the hotel staff were highly satisfied in terms of cleanliness, quantity of jam, texture, and flavor of the jam, followed by the color and aroma of the jam. Therefore, it can be concluded that the rambutan mix pineapple core jam project was satisfactory.
Keywords: Jam, Rambutan, Pineapple Core.
แยมเงาะแกนสับปะรด | Rambutan Mix Pineapple Core Jam
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand