Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y

Last modified: December 15, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y
Research Article: Thai Gen Y People’ Travelling Behavior and Motivation Patterns
ผู้เขียน/Author: วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์ | Wanida Lerspipatthananon
Email: wanida@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Research Promotion and Development Office, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับพิเศษ เดือนพฤษภาคม 2561 | Dusit Thani College Journal Vol. 12 Special Issue May 2018

การอ้างอิง|Citation

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ เดือนพฤษภาคม), 134-149.

Lerspipatthananon W. (2018). Thai Gen Y people’ travelling behavior and motivation patterns. Dusit Thani College Journal, 12(Special Issue May), 134-149.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบพฤติกรรมการท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือคนไทยที่มีอายุระหว่าง 22 – 36 ปี ที่พักอาศัยหรือเข้ามาทากิจธุระในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การแจกแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 2 วิธีร่วมกัน ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเพื่อเลือกเขตที่จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและสุ่มตัวอย่างในแต่ละเขตที่ได้ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกาหนดสัดส่วน ส่วนที่สอง คือ การส่งแบบสอบถามออนไลน์ทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และแอพพลิเคชั่น LINE โดยวิธีบอกต่อ จานวนข้อมูลที่ได้รับการตอบกลับจากกลุ่มตัวอย่างและมีความสมบูรณ์คือ 394 ชุด ทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้มีการใช้สถิติเชิงอนุมานในส่วนของการวิเคราะห์องค์ประกอบ และการทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วยสถิติทดสอบ Chi-squared, t-test และ F-test ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธี LSD

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนไทย Gen Y โดยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมในการจัดการวางแผนการเดินทางด้วยตนเอง ชอบการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เดินทางท่องเที่ยวปีละ 1-3 ครั้ง โดยผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวจะเป็นคนในครอบครัว จานวน 1 – 3 คน นิยมท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งแบบ 3 วัน 2 คืน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางในแต่ละครั้งประมาณคนละ 1,000 – 3,000 บาท และเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัว ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมมากที่สุดคือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในด้านการจองที่พักจะทาการจองผ่านเว็บไซต์บริการต่าง ๆ เช่น Agoda, Expedia เป็นต้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัวก็จะมีการจองตั๋วโดยสารผ่านบริษัทหรือสายการบินโดยตรง สื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุดคือ สื่อสังคมออนไลน์ กิจกรรมที่กลุ่มคนไทย Gen Y ชอบทาในขณะท่องเที่ยว ได้แก่ การถ่ายภาพ เดินเล่น ชิมหรือลิ้มลองอาหาร ตามลาดับ สาหรับการทดสอบสมมติฐานที่ว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกันทาให้มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันนั้น พบว่า รายได้ที่ต่างกันจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แตกต่างกันในประเด็นต่างๆ มากกว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์อื่น ๆ ปัจจัยผลักดันที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y ในระดับมากที่สุดคือ ความต้องการทางร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มีความต้องการพักผ่อนคลายเครียด และในระดับมากคือ ด้านความต้องการเสาะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ สังคมใหม่ ๆ ส่วนปัจจัยดึงดูดที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในระดับมาก คือ ด้านความน่าสนใจของลักษณะจุดหมายปลายทาง ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของสื่อมวลชน และด้านการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ สาหรับการทดสอบสมมติฐานที่ว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกันทาให้เกิดแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวแตกต่างกันนั้น พบว่า อาชีพที่ต่างกันไม่ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: พฤติกรรมการท่องเที่ยว, แรงจูงใจในการท่องเที่ยว, คน Gen Y


ABSTRACT

The purpose of this research is to study Thai Gen Y people’ travelling behavior and motivation patterns by using quantitative research. The populations of this study are Thai people between 22-36 years old who are living or working in various districts in Bangkok. Two data collection methods were used. The first one was the paper-based questionnaires that were sent to the samples by sampling some districts of Bangkok by method of Cluster sampling and the Quota sampling techniques was used to select some samples from each of those districts. The last one was the online questionnaires that were submitted via the Facebook and LINE application by method of Snowball sampling technique. The number of complete responses from the sample group was 394. R program was used to analyze the data by using descriptive statistics, such as, the frequency, percentage, mean, and standard deviation. In addition, this study used Statistics, Factor Analysis and hypothesis testing with the Chi-squared test, T-test, F-test and multiple comparisons with LSD method.

The research found that most of Thai Gen Y people are managing their own travelling plans behaviors. They enjoy travelling both domestic and abroad 1-3 times a year with 1-3 family members-travel ling companions by taking 3 days 2 nights on the weekend per trip. Travelling expenses are about 1,000-3,000 baht per trip and they like to travel to their destination by private cars. The most popular tourist attractions are the attractive natures. They will reserve their accommodations by the websites, such as, Agoda, Expedia, and etc. However, if they don’t use their own private cars, they will directly book the airplane tickets with the travel agencies or the airlines. The most influential decision-making medium is social media. The activities that Thai Gen Y people like to do the most during their travelling are photography, sightseeing, and food tasting respectively. To test the hypothesis that tourists with different demographic characteristics will effect different tourist behaviors, it found that the different incomes will result to different behaviors of tourists. This factor has more influence on tourist behaviors than other demographic characteristics.

The highest level of driving force that motivates Thai Gen Y people to travel is their physical and mental needs, especially the desire to relax while the demand for new social experiences is highly motivating. The motivation induced by the high level attraction factors are the interesting of destination attributes, tourism information dissemination of media and the effective transportation. Due to the hypothesis test that different demographic characteristics motivate different travelling behaviors, it found that different occupations did not result to different travelling motivations.

Keywords: Tourist Behavior, Travel Motivations, Gen Y People.


รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y|Thai Gen Y People’ Travelling Behavior and Motivation Patterns

Research Promotion and Development Office, Siam University, Bangkok, Thailand