Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การศึกษาเชิงประจักษ์แรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิภาพในธุรกิจซอฟต์แวร์

Last modified: January 23, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาเชิงประจักษ์แรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิภาพในธุรกิจซอฟต์แวร์
The empirical study of motivation on efficiency at software development
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายเอกกวิน อนันต์ตระการกิจ
Mr. Aekkawin Anantrakarnkit
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัสวดี ราชกุลชัย
Asst Prof. Dr. Surasvadee Rajkulchai
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

เอกกวิน อนันต์ตระการกิจ. (2561). การศึกษาเชิงประจักษ์แรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิภาพในธุรกิจซอฟต์แวร์. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานที่ซอฟต์แวร์เฮ้าส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่ซอฟต์แวร์เฮ้าส์ จำนวน 421 ราย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที T-Test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุ 20-25 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ตําแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ประเภทของงานเป็นพนักงานด้าน IT รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป และอายุงานน้อยกว่า 5 ปี นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า บริษัทให้ความสำคัญแรงจูงใจของพนักงานอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติปานกลาง ส่วนการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประเภทของงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณโดยแบ่งตาม 2 ปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์กที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพรวมในการปฏิบัติงาน พบว่าปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ ปัจจัยค้ำจุนโดยด้านความมั่นคงในงานส่งผลมากที่สุด เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรายด้าน พบว่าปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในงานส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านปริมาณมากที่สุด ส่วนปัจจัยค้ำจุนด้านสถานภาพในการทํางานส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านคุณภาพงานมากที่สุด และปัจจัยจูงใจด้านความสําเร็จในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านความรวดเร็วในการทํางานมากที่สุด

 

คำสำคัญ: แรงจูงใจในการทำงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, ซอฟต์แวร์เฮ้าส์, อิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงาน


Abstract

The research aimed to study the level of motivation at work, level of performance efficiency, the difference in performance efficiency through personal factors and motivation to work on efficiency of employees at software development companies. The sample group were employees at various software development companies for a total of 421 persons, by using Multistage Cluster Sampling and the statistical method used in data analysis was frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test, the one-way ANOVA and multiple regression analysis.

The result of the study showed that most employees were male, aged between 20-25 years, single, hold a bachelor’s degree, operations level position, IT jobs, the average income per month was more than 30,000 baht and number of years working was less than five years. In addition, the motivation in performance was significant at a high level, and the efficiency of performance was significant at a middle level. For the assumption test, the personal factors in terms of age, status, educational level, work position, type of work, average income per month and number of years working were found to be significantly in relationship with performance efficiency, the multiple regression analysis, which was the variance of the Herzberg factors affecting the efficiency of performance, showed that most Herzberg affecting factors was hygiene factors in job security. The hygiene factors in job security had an effect on the work efficiency in production volumes, as well as, in the working environment, which had an effect on the work efficiency in workers quality. The motivating factors in success also had an effect on the work efficiency regarding the pace of work.

 

Keywords:  Motivation, Performance efficiency, Software Development, Effect on work efficiency.


การศึกษาเชิงประจักษ์แรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิภาพในธุรกิจซอฟต์แวร์

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand