Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเสริมสร้างความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลของประชาชน

Last modified: September 18, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเสริมสร้างความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลของประชาชน
Research Article: The Implementation of a National Strategic Plan on Strengthening Knowledge of Antimicrobials Resistance and Awareness of Rational Antimicrobial Use among the Public
ผู้เขียน|Author: ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, ยุพดี ศิริสินสุข, อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี | Shinnawat Saengungsumalee, Yupadee Sirisinsuk, Anuchai Theeraroungchaisri
Email: shinnawat@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารวิชาการรัตนบุศย์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2566) หน้า 306 – 326 | RATANABUTH JOURNAL Vol. 5 No.2 (May – August 2023) pages 306 – 326.

การอ้างอิง|Citation

ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, ยุพดี ศิริสินสุข และอนุชัย ธีระเรืองไชยศร. (2566). การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเสริมสร้างความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลของประชาชน. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 306 – 326.

Saengungsumalee S, Yupadee S and Theeraroungchaisri A. (2023). The Implementation of a National Strategic Plan on Strengthening Knowledge of Antimicrobials Resistance and Awareness of Rational Antimicrobial Use among the Public. RATANABUTH JOURNAL, 5(2), 306 – 326.


บทคัดย่อ

     เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ. 2560-2564 หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์คือการเสริมสร้างความรอบรู้เรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) และความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (AMU) ในหมู่ประชาชน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 5 โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยดำเนินการสำรวจตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2565 การสำรวจรอบแรกสำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และรอบที่สองสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาล แบบสำรวจประกอบด้วยคำถามปลายปิดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่าการอบรมให้ความรู้ในพื้นที่ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจใช้แผ่นพับและโปสเตอร์เพื่อเผยแพร่ความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ผู้ตอบแบบสำรวจจัดกิจกรรมให้ ได้แก่ บุคลากรทางสาธารณสุขและผู้ป่วย กิจกรรมที่จัดหรือดำเนินการโดยผู้ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญกับกับทุกประเด็น โดยมีคะแนนเฉลี่ยของประเด็นด้านความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักรู้ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลมากกว่า 4 ใน 5 การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความต้องการกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่อง AMR และสร้างความตระหนักเรื่อง AMU แก่กล่มุเป้าหมาย

คำสำคัญ: แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ, ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา, ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม


ABSTRACT

     In August 20 1 6, the Council of Ministers of Thailand approved the National Strategic Plan on AMR 2 0 1 7 – 2 0 2 1 . One of the strategic plans was strengthening knowledge of antimicrobial resistance (AMR) and awareness of rational antimicrobial use (AMU) among the public. The objectives of this study were to collect the activities implemented to achieve the goal of the fifth strategy by provincial public health offices, hospitals, and the Health Department of the Bangkok Metropolitan Administration. Two survey rounds were conducted from January to March 2022. The first round was for the respondents at PPH and HDBMA, and the second one was for those in hospitals. The questionnaire consisted of closed-ended questions. Descriptive statistics performed data analysis. The survey results from respondents thought knowledge training resulted in the target group having the most knowledge and awareness about AMR and AMU. The respondents used educational brochures and posters to disseminate AMR and AMU knowledge. The target groups for which the respondents organized activities to raise knowledge about AMR and awareness of AMU were public health professionals and patients. The survey how much the activities organized or conducted by the survey respondents focused on content issues in knowledge and awareness most survey respondents emphasized all issues, with an average score of more than 4 out of 5. These findings show a need for suitable activities to promote knowledge of AMR and raise awareness of AMU to target groups.

Keywords: National Strategic Plan on Antimicrobial Resistance, Knowledge of Antimicrobials Resistance, Awareness of Rational Antimicrobial Use.


การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเสริมสร้างความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลของประชาชน | The Implementation of a National Strategic Plan on Strengthening Knowledge of Antimicrobials Resistance and Awareness of Rational Antimicrobial Use among the Public

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand