Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การศึกษาการบริหารงานวิชาการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Last modified: October 8, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาการบริหารงานวิชาการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
A study of academic administration: A case study of Ban Khun Prathet School, Nong Khaem District, Bangkok Metropolitan Administration
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระสุวรรณา เหือน (อินฺทโชโต)
Phra Sovanna Hoeurn (Indajoto)
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด
Assoc. Prof. Dr. Boonmee Nenyod
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
Master of Education
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา
Educational Administration and Leadership
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

พระสุวรรณา เหือน (อินฺทโชโต). (ใส่ปีพิมพ์). การศึกษาการบริหารงานวิชาการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phra Sovanna Hoeurn (Indajoto). (2018). A study of academic administration: A case study of Ban Khun Prathet School, Nong Khaem District, Bangkok Metropolitan Administration. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check List) โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความถี่ (frequency) และค่าร้อยละ (percentage)

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีการดำเนินการตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ 2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการประชุมชี้แจงสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) ด้านการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีระบบการติดตามการดำเนินการนิเทศภายใน 5) ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการประชุมคณะทำงาน 6) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการจัดทำทะเบียนสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ 7) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ ครูผู้สอนดำเนินการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 8) ด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ 9) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ กิจกรรมที่ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ในโรงเรียนตอบ คือ มีการจัดทำรายงานประกันคุณภาพด้านวิชาการประจำปีการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ในแต่ละด้านผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีปัญหา แต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ตอบว่ามีปัญหา ด้านการวางแผนงานวิชาการ ปัญหาได้แก่ ขาดการสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาได้แก่ ขาดการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ ปัญหาได้แก่ ขาดการส่งเสริมสนับสนุนให้คำแนะนำปรึกษาให้ขวัญกำลังใจ ด้านการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ปัญหาได้แก่ ขาดการติดตามการดำเนินการนิเทศภายใน ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ปัญหาได้แก่ ขาดการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ปัญหาได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปัญหาได้แก่ ขาดการเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ปัญหาได้แก่ ไม่มีการวางแผนสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการกับชุมชน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ ปัญหาได้แก่ ขาดการดำเนินการด้านการปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนบ้านขุนประเทศ


Abstract

This study aimed to study the state and problems in academic administration of Ban Khun Prathet School, Nong Khaem District, Bangkok Metropolitan Administration. Population were 59 school administrators and teachers during academic year 2560. Data were gathered through questionnaire in the form of a check list, and then they were analyzed by using frequencies and percentages.

Research results concerning the state of academic administration showed that school had operated in 9 aspects namely; 1) academic planning: the activity that most school administrators and teachers responded was an academic information system setting, 2) school curriculum management: the activity which most respondents responded was a school curriculum evaluation committee setting, 3) the instructional management: the activity which most respondents responded was a meeting on child-centered awareness, 4) the internal supervision: the activity which most respondents responded was an internal supervision monitoring system, 5) the learning evaluation: the activity which most respondents responded was a meeting among a working group, 6) the media, innovation, technology, and learning resource development: the activity which most respondents responded was a filling system setting on that matter, 7) research for educational quality development: the activity which most respondents responded was teachers were required to do a classroom research, 8) community participation: the activity which most respondents responded was educational community participated in school academic strength planning, 9) school academic assurance: the activity which most respondents responded was school academic assurance report preparation.

With regards to problems in academic administration, data showed that most school administrators and teachers responded that there were no problems in all aspects. Only few respondents responded there were problems which were lack of information surveying and filling system in academic planning aspect, in appropriated data in school curriculum construction aspect, lack of supporting and advising in instructional management aspect, lack of monitoring and activity in internal supervision, and learning evaluation aspect. For the media, innovation, technology, and learning resource development aspect, lack of public informed was mentioned as a problem, while lack of classroom research distribution was mentioned in research for quality development aspect, there were non-community participation in academic strength planning aspect, and non continuity on management improvement in school quality assurance aspect.

Keywords:  Academic Administration, Ban Khun Prathet School.


การศึกษาการบริหารงานวิชาการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร|A study of academic administration: A case study of Ban Khun Prathet School, Nong Khaem District, Bangkok Metropolitan Administration

Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand

Previous: ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา
Next: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร