Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การศึกษาลักษณะการเกิดของเสียจากสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์

Last modified: July 1, 2020
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การศึกษาลักษณะการเกิดของเสียจากสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์
A study on the cause of defected characteristics of products via pasteurization process
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวนัชชา หงษ์สา 5704700024
Miss Natcha Hongsa
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิยนุสร์ น้อยด้วง
Asst. Prof. Piyanoot Noiduang
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science
ภาควิชา:
Major:
เทคโนโลยีการอาหาร
Food Technology
คณะ:
Faculty:
วิทยาศาสตร์
Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2559
3/2016

การอ้างอิง/citation

นัชชา หงษ์สา. (2559). การศึกษาลักษณะการเกิดของเสียจากสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดของเสีย สาเหตุที่ทำให้เกิดของเสีย และแนวทางการแก้ไขเพื่อลดจำนวนของเสียที่เกิดขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะของของเสีย, จำนวนของเสียของสินค้าที่ปิดผนึกแบบสุญญากาศที่ผ่านเครื่องพาสเจอไรเซอร์ในสายการผลิต ซึ่งสินค้ามีขนาดต่างๆ กัน ได้แก่ 250, 454, 500, 908 และ 1000 กรัม ตามลำดับ พบว่าสินค้าที่มีขนาด 250 กรัม เกิดของเสียมากที่สุด จำนวน 262 รายการ และลักษณะการเกิดของเสียมากที่สุด คือ การผิดรูป เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิก้างปลา และนำสาเหตุของปัญหาที่ได้มาจัดลำดับความเสี่ยงโดยใช้วิธีการระดมความคิด พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุดในกระบวนการพาสเจอไรซ์ คือ มุมเอียงของสายพานขาขึ้นมีมากเกินไป, สินค้าชนบริเวณที่กั้นขอบตู้, สินค้าตกค้างอยู่ในตู้นานเกินไป และสินค้าเบียดชิดในตู้ จากนั้นทำการพิสูจน์สาเหตุโดยใช้หลัก 3 จริง คือ สถานที่จริง ข้อมูลจริง และปฏิบัติจริง พบว่าการชนของสินค้าขนาด 250 กรัมบริเวณที่กั้นขอบตู้และสินค้าเบียดชิดในตู้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการผิดรูปของสินค้าเป็นจำนวนมาก แนวการแก้ไขปัญหาสินค้าชนบริเวณที่กั้นขอบตู้และสินค้าเบียดชิดในตู้ คือ ปรับจำนวนแพคต่อแถวในการเรียงให้เป็น 13 แถว เมื่อสินค้ามีปริมาณน้อยทำให้มีพื้นที่ในการกระจายตัวมากขึ้นจึงทำให้สินค้าไม่ชนขอบตู้ และการวางสินค้าไม่ให้ซ้อนทับกันจะทำให้สินค้าไม่เบียดกันในตู้และไม่เกิดการผิดรูป

คำสำคัญ: สินค้าประเภทปิดผนึกแบบสุญญากาศ, กระบวนการพาสเจอไรซ์, การผิดรูป


Abstract

This research aims to study the characteristics of waste, cause of waste and solutions to reduce the amount of waste. Collection of waste characteristics, number of waste from the products vacuum sealed through a pasteurization process in the production line. The different sizes of products are 250, 454, 500, 908 and 1000 grams, respectively. It was found that 250 grams of products produced provided the highest amount of waste (262 items) and the most characteristics of waste are the deformation. Fishbone diagrams were used to analyze the causes of the problem and these causes were ranked for the sequences of risk by using brainstorming. Most of the causes in the pasteurization process was the inclination angle of the belt too high, the product collapses at the edge of the cabinet, the residue in the cabinet too long and tight. To prove the causes by using 3 Gen principles: Genba, Genbutsu and Genjisu, it was found that a collision of 250 grams of goods at the edge of the cabinet and the jammed goods in the closet caused a large number of product deformation. The solution of these problems was to adjust the number of packets per row as 13 rows. This resulted in the amount of products was low, there is; therefore, more space in the distribution. The product did not hit the edge of the cabinet. Placing the goods overlapping do not lead to hit each other in the cabinet and do not deform.

Keywords:  Vacuum Sealing Products, Pasteurization Process, Deformation.


การศึกษาลักษณะการเกิดของเสียจากสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ | A study on the cause of defected characteristics of products via pasteurization process

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand