Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ

Last modified: October 20, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ
Analysis of the Learner’s Participated Behavior from Active Learning Management by Process Mining Technique
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายชนม์วรินทร์ เทพทัตบวรนันท์
Mr. Chonwarin     Theptudborvornnun
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
Prof. Dr. Wichian Premchaiswadi
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
Master of Science (Ms.IT)
สาขาวิชา:
Major:
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
IEEE
2020 18th International Conference on ICT and Knowledge Engineering (ICT&KE)

การอ้างอิง|Citation

ชนม์วรินทร์ เทพทัตบวรนันท์. (2564). การวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Theptudborvornnun C. (2021). Analysis of the learner’s participated behavior from active learning management by process mining technique. (Master Independent Study). Bangkok: Master of Science in Information Technology, Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำข้อมูลพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในสถานศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเหมืองกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเตรียมข้อมูล  2. การประมวลผลข้อมูล 3. การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเหมืองกระบวนการ เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนแล้ว พบว่ามีพฤติกรรมของนักเรียนแบบก้าวกระโดด คือระดับปานกลาง (3) ไประดับมากที่สุด (5) และได้พบว่า ครูมีส่วนส่งผลให้พฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละรายวิชาเปลี่ยนแปลง หากครูผู้สอนไม่ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ทั่วถึงกับนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน จะทำให้เกิดอุปสรรค ทัศนคติ เจตคติที่ไม่ดีกับรายวิชานั้น และส่งผลเสียกับตัวนักเรียนในอนาคต อีกทั้งยังสามารถนำวิธีการในการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นแบบก้าวกระโดดจากกรณีดังกล่าวมาพิจารณาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยผลการวิจัยพบว่า  เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ในระดับมาก (4) สูงที่สุดทั้งหมด 18,548 ครั้งโดยคิดเป็น 59.83% และยังพบนักเรียนมีพฤติกรรมแบบก้าวกระโดดจากระดับปานกลาง (3) ไประดับมากที่สุด (5) จำนวน 101  ครั้ง จากผลการวิจัยนี้  โรงเรียนสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายตลอดจนถึงการเฝ้าติดตามการออกแบบการเรียนการสอนของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ Active Learning เพื่อศึกษาการตอบสนองของผู้เรียนที่ได้จากผลที่ได้รับจากการวิจัย

คำสำคัญ: เหมืองกระบวนการ, การค้นพบรูปแบบ, ข้อมูลอาหาร, รูปแบบการกินของนักเรียน


Abstract

This study, applying process mining to investigate food purchases behavior and children’s weight based on the digital card food card mining. Investigation of using process mining techniques. was divided into three steps: 1. Data collection and preparation, 2. Information processing;  3. Techniques for process mining. When analyzing student participation behaviors, it was discovered that students had a leaping behavior from moderate (3) to highest level (5), and it discovered that the teacher played a role in changing the students’ behavior in each course. If the teacher does not modify his or her teaching style so that it is consistent with all students in the class may result in obstacles, attitudes, and negative attitudes toward that course, negatively affecting students in the future. They should also adopt a teaching method that is advanced, as a result of such cases consider it as a model for developing effective teaching and learning. According to the findings of the study, children in grades 1-3 have the behavior to participate in teaching at a high level (4), the highest of all 18,548 times, or 59.83 percent. Furthermore, students had 101 jumps from the moderate level (3) to the highest level (5). The findings of this study can be used by schools to develop policies and to monitor teachers’ teaching and learning designs. Active Learning was used in learning management to investigate learners’ reactions to research findings.

Keywords: Process Mining, Process Discovery, Food Data, Student Eating Pattern


การวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ | Analysis of the Learner’s Participated Behavior from Active Learning Management by Process Mining Technique

Master of Science in Information Technology, Siam University, Bangkok, Thailand