Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล

Last modified: December 18, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล
Attitude of People towards the Cheating on Elections of Local Administrative Organizations in Satun Province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายปริญญ์  อังโชติพันธุ์
Mr.Parin Angchotiphan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
Asst. Prof. Dr. Chanchai Chitlaoarporn
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL: Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน แหล่งเผยแพร่ผลงาน
วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2564 | Journal of Administration and Social Science Review Vol.4 No.4 (November – December 2021)

การอ้างอิง|Citation

ปริญญ์ อังโชติพันธุ์. (2564). ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Angchotiphan P. (2021). Attitude of people towards the cheating on elections of Local Administrative Organizations in Satun Province. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงจากการวิเคราะห์เนื้อหา และสนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (จำนวน  400 ตัวอย่าง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกพหุ (MCA) พร้อมทั้งการสร้างข้อสรุป (Generalization)

ผลการศึกษาพบว่า  1)  ทัศนคติต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ อาชีพมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ทัศนคติ, การเลือกตั้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


Abstract

The objective of this research was to study the attitude of people towards the cheating of elections of local administrative organizations in Satun Province. The method used was a mix-method research, the qualitative research was in-depth interview and  was analyzed by content analysis, and the quantitative research was collected by questionnaires with 400 random samples by accidental sampling. The statistical tool used were percentage, mean, standard deviation and multiple classification analysis (MCA) for generalization.

The research found that:1) the attitude of people towards the cheating of elections of local administrative organizations in Satun Province was a high level; 2) the demographic factors, such as age and occupation, had effects on the attitude of people towards the cheating of elections of local administrative organizations in Satun Province with statistical significance at 0.05.

Keywords: Attitudes, Election, Local Administrative Organizations


ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล | Attitude of People towards the Cheating on Elections of Local Administrative Organizations in Satun Province

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand