Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การออกแบบระบบท่อระบายน้ำฝน กรณีศึกษาโครงการปัญญ์ สมาร์ท เวิร์ค สเปซ

Last modified: April 19, 2025
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
การออกแบบระบบท่อระบายน้ำฝน กรณีศึกษาโครงการปัญญ์ สมาร์ท เวิร์ค สเปซ
Designing a Rainwater Drainage System – A Case Study of PUNN Smart Work Space Project
ชื่อผู้เขียน –
Author:
ตรัยศ ล้ำเลิศ, ณัฐพล มาดีประเสริฐ
Traiyot Lamloet, Nattapon Madeeprasert
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย – Dr. Chanchai Wiroonritichai
ชื่อปริญญา –
Degree:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล – Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) – B. Eng. (Mechanical Engineering)
คณะวิชา –
Faculty:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
3/2565 (2022)

บทคัดย่อ

อาคารสำนักงานโครงการปัญญ์ เป็นอาคารก่อสร้างขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีระบบระบายน้ำฝนที่ชั้นดาดฟ้า เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง และลดการรั่วซึมลงมายังชั้นต่างๆของตัวอาคารโดยมีวัตุประสงค์เพื่อออกแบบท่อแนวระดับและท่อแนวดิ่งของระบบการระบายน้ำฝน และการเลือกใช้ชุดหัวระบายน้ำฝน ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อความคุ้มค่า โดยใช้มาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการออกแบบ
ผลการคำนวณในส่วนของการออกแบบใหม่ และแบบหน้างาน ขนาดท่อแนวระนาบมีขนาด 10 นิ้ว และขนาดท่อแนวดิ่งมีขนาด ขนาด 6 และ10 นิ้ว ซึ่งจะต่างกันที่การวางและเลือกขนาดของชุดหัวระบายน้ำฝน โดยทำการเลือกใช้หัวระบายน้ำรุ่น 327 ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 17 หัว ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้ 137 mm/h หรือ รองรับอัตราการไหล 92 gpm เมื่อเปรียบเทียบกับหน้างาน ซึ่งใช้หัวระบายน้ำฝนรุ่นเดียวกันแต่ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 17 หัว ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้ 285 mm/h หรือ รองรับอัตราการไหล 192 gpm ซึ่งสามารถระบายน้ำฝนได้มากกว่าแต่ สำหรับการออกแบบใหม่เพียงพอต่อการระบายปริมาณน้ำฝนแล้ว

คำสำคัญ: ออกแบบ, ระบบท่อ, ระบายน้ำฝน


Abstract

This project was created to study methods for designing the rainwater drainage system of the Pann Smart Work Space project office building. The location comes from students that actually went to an internship and saw the problems that occurred. Therefore, there was an interest in exploring the issues and methods for designing a more efficient rainwater drainage system. In designing rainwater drainage equipment and various types of pipes for the Pann project, the standards of The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King’s Patronage were used.
The results show, we can assume that the design of horizontal pipes 10 in and vertical pipes 6 and 10 in is made for a different proposal. By selecting the design of roof drain set model 327, size 3 in, 17 heads are capable to managing the rainfall at a rate of 137 mm/h or flow rate at 92 gpm. On the other hand, the field design utilizes the same model but with a 4 in size and 17 heads, which able to handle with rainfall at rate 285 mm/h or flow rate at 192 gpm. The model in the field can drain the rainwater effectively, the newly designed model meet more proper requirements

Keywords: design, pipe system, drain rainwater


ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย – Dr. Chanchai Wiroonritichai, วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) – B. Eng. (Mechanical Engineering), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล – Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering, 3/2565 (2022)