หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย Development of an Online Learning Resource of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
พระมหากิตติศักดิ์ ไมตรีจิต Phramaha Kittisak Maitreejit |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy |
สาขาวิชา: Major: |
การบริหารการศึกษา Educational Administration |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2562 2019 |
การอ้างอิง/citation
พระมหากิตติศักดิ์ ไมตรีจิต. (2562).การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมของแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย 2) พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพทั้งด้านสื่อและด้านเนื้อหา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จำนวน 2,189 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ เพื่อประเมินคุณภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากแหล่งการเรียนรู้ของวัดพระเชตุพน ซึ่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดพระเชตุพน เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาผ่านทางระบบออนไลน์ได้
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบที่เหมาะสมของแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านระบบฐานข้อมูล ด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และด้านระบบการให้บริการ 2) แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คุณภาพด้านสื่อเทคโนโลยีการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 คุณภาพด้านเนื้อหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 ทั้งนี้ แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย จะได้รับการพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่สมบูรณ์และทันสมัย ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญต่อไป
คำสำคัญ: แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์, มรดกความทรงจำแห่งโลกวัดพระเชตุพน, การศึกษาตามอัธยาศัย
Abstract
The objectives of this research are: 1) To study important elements and suitable components of online learning resources of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education. 2) To create online learning resources of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education with quality both in media and content and 3) To study the satisfaction of users of online learning resources of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education. The sample groups used in this research were 2,189 monks, novices, students and the general public group selected by the specific selection. The tools used to collect data were the media quality evaluation form, content quality assessment form and satisfaction questionnaire to assess the quality and satisfaction of users of online learning resources of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education, which the researcher developed from the learning source of Wat Phra Chetuphon, which the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization or UNESCO certifies the inscription of Wat Phra Chetuphon) as the Memory of the World International Register on May 27. 2011 so that those interested can study online.
The study indicated that 1) Structure of online learning resources consisting of 4 components: Database Management, Academic Management, Computer Technology and Internet Network Administration and Services Managing System; 2) The online learning source meets the specified criteria that are: a) the overall quality in educational technology media is 4.50 at the highest level, standard deviation is 0.57, and b) the overall content quality is 4.72 at the highest level, standard deviation is 0.37; and 3) The overall satisfaction of users online learning sources is 4.11 at high level, standard deviation 0.84. In this regard, the online learning resources of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for informal education will be developed according to the changing technology to provide a complete and up-to-date learning resource, and to be an important source of learning.
Keywords: Online Learning Resource, the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon, Informal Education.
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย | Development of an Online Learning Resource of the Memory of the World of Wat Phra Chetuphon for Informal Education
Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand
Related:
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
- รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก
- การพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ
- การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มอาเซียน
- รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา
- การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- รูปแบบการพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
- ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง ของโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จ