การพัฒนา ระบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผลสำหรับ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ

Last modified: October 8, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การพัฒนา ระบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผลสำหรับ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ
The Development of Academic Administration System for the Effectiveness of Police Training Center
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พันตำรวจเอกพงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์ ( ศ.พ.ต.อ. พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์ )
Pol. Col. Pongpitsanu Pakdeenarong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด
Assoc. Prof. Boonmee Nenyod, Ed.D
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษา
Education Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์. (2561). การพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Pakdeenarong P. (2018). The development of academic administration system for the effectiveness of Police Training Center. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติและสภาพประสิทธิผล ของการบริหารงานวิชาการ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกรอบแนวคิดได้จากการใช้ทฤษฎีระบบของ Lunenburg and Ornstein (2008) กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล การสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง และการรายงานผล การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล และการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถ แบบประเมินจิตสำนึก และแบบสอบถาม จากนักเรียนนายสิบตำรวจ จำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. แต่ละศูนย์ฝึกอบรมตำรวจขึ้นการบังคับบัญชากับแต่ละกองบัญชาการในเขตพื้นที่ โดยใช้หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจและตำราเดียวกัน ที่จัดทำโดยกองบัญชาการศึกษา สภาพการปฏิบัติด้านผู้บริหาร ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพประสิทธิผลของศูนย์ฝึกอบรม ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านความสามารถและด้านจิตสำนึกอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ปัจจัยด้านผู้สอน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และด้านวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ
  2. องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านผู้บริหาร ประกอบด้วยภาวะผู้นำ การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การบริหารงานวิชาการ และ ความมีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี 2) ด้านผู้สอน ประกอบด้วยคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้/ประสบการณ์วิชาชีพ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการสอน 3) ด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วยอาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และ 4) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วยการมีวัสดุอุปกรณ์ และการใช้วัสดุอุปกรณ
  3. ใช้แนวคิดทฤษฎีระบบของ Lunenburg and Ornstein พิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นระบบการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของแต่ละปัจจัย ซึ่งด้านปัจจัยนำเข้าที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความเมตตากรุณาต่อผู้ร่วมงานของผู้บริหาร ความรับผิดชอบและเอาใจใส่ต่อหน้าที่ของผู้สอน ความแข็งแรงทนทานของอาคารสถานที่ และความมีประสิทธิภาพในการทำงานของวัสดุอุปกรณ์ ด้านกระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหาร วางแผนปฏิบัติงาน ผู้สอนปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงาน ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ และใช้อินเทอร์เน็ต ประสิทธิผลของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจทั้ง 3 ด้านโดยเรียงลำดับ ได้แก่ ความรู้ ความสามารถ และจิตสำนึกของนักเรียนนายสิบตำรวจ

Abstract

This research was conducted on a development of academic administration system to enhance the effectiveness of the police training center. The purposes were to study the actual performance and the effectiveness of academic administration, to study factors affecting the effectiveness of academic administration, and to develop an effectiveness of academic administration system for the police training center. The framework was based on Lunenburg and Ornstein’s (2008) system theory. The research process was divided into 8 steps: document analysis, the seminar of experts to validate research framework, constructing and validating quality tools, data gathering, data analysis, summary of data analysis, experts seminars to validate research results, and reporting. Data were collected through the test, ability evaluation sheet, consciousness evaluation sheet, and questionnaire from 366 police students studying in 10 police training centers. Statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and Pearson’s correlation coefficient.

The Research findings showed as follows:

  1. Each police training center had upward command with each headquarter, used the same curriculum and textbook from the Police Education Bureau. The actual performance of administrators, teachers, environment factors, and materials were rated at the high level. The center’s effectiveness related to knowledge was at the medium level, while ability and consciousness were at the most levels. Administrator’s factors affect the center’s effectiveness at the most level, followed by teacher’s factors, environment factors, and materials factors respectively.
  2. Factors affecting the effectiveness of academic administration in 4 aspects were 1) management which consisted of leadership, policy implementation, academic administration and morality, ethics and a good example, 2) instructor which consisted of personal attributes, knowledge and professional experience, motivation and teaching behaviour, 3) environment which consisted of buildings and learning resources within the school, and 4) materials which consisted of sufficient materials and materials utilization.
  3. The system theory of Lunenburg and Ornstein was applied in order to formulate the academic administration system by consists of inputs, processes, and outputs. For the effective academic administration system for the police training center, the highest input factors was the kindness to the co-workers of the administrator, followed by responsibility and empathy of the instructors, the strength of the buildings, and the sufficiency of the materials. The process with the highest factor was management planning, followed by instructors policy following, facilitation of environment’s utilization, and internet utilization. The outputs of the system were knowledge, ability, and consciousness of police student respectively.

การพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ |The Development of Academic Administration System for the Effectiveness of Police Training Center

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related Articles

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 727
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code