ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค Education of Cooling Load Suitable for Maximum: Floor Bedroom of Bangkok Feliz Bangkae Station |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายณวกร คำเสนาะ Mr. Nawakorn Kamsanoa |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr.Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2560 1/2017 |
การอ้างอิง/citation
ณวกร คำเสนาะ. (2560). การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการคำนวณภาระการทำความเย็นมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานในการเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมของชั้น7-8 ซึ่งเป็นชั้นที่มีความร้อนสูงสุดของอาคารแบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค โดยเลือกใช้วิธีการคำนวณแบบภาระการทำความเย็นด้วยปัจจัย ซีแอลทีดี และเขียนสูตรการคำนวณภาระการทำความเย็นในโปรแกรม Excel เพื่อความแม่นยำและช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณ ในการคำนวณขนาดภาระการทำความเย็นใช้เวลาระหว่าง 9.00 น. ถึง 15.00 น. โดยมีอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนตาม อุณหภูมิ เวลา และทิศทาง ดังนั้นผลรวมของภาระการทำความเย็นในแต่ละห้องนอนคือภาระการทำความเย็นที่จะใช้เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้ตรงกับมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ
ผลจากการศึกษาพบว่า เวลาที่เกิดภาระการทำความเย็นสูงสุดที่เวลา 15.00 น. ของในแต่ละวัน ได้ผลภาระการทำความเย็นของห้อง Type K , J , M , L ในชั้น 7 และ 8 อยู่ที่ 9,878 Btu/h ซึ่งตรงกับมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศที่ 12,000 Btu/h และห้อง Type A , C , D-R1 , D-L , D-R2 , B-1 , B-2 ในชั้น 7 และ 8 อยู่ที่7,575 Btu/h ซึ่งตรงกับมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศที่ 9,000 Btu/h
คำสำคัญ: การระบายความร้อน, เครื่องปรับอากาศ
Abstract
The purpose of this study was to calculate cooling loads to compare with the standard of selecting proper air conditioners for 7th and 8th floors of Bangkok Feliz Condominium at Bangkae Station. The study was conducted by choosing a calculation method of cooling loads with Cooling Load Temperature Difference (CLTD) and writing a calculation formula of cooling loads in Excel for a precise and time-saving calculation. The calculation of cooling loads was done between 9.00 – 15.00 hrs. with the influence of the environment that changed according to temperature, time and direction. Therefore, the sum of the cooling loads in each bedroom was the cooling load that was used to select the size of air conditioners to meet the air conditioning standard.
The results indicated that time with the maximum cooling load was at 15.00 hrs. each day. The cooling loads of the room type K, J, M, L on 7th and 8th floors was at 9,878 Btu/h, which meets the air conditioning standard at 12,000 Btu/h. And the room type A, C, D-R1, DL, D-R2, B-1, B-2 on 7th and 8th floors was at 7,575 Btu/h, which meets the air conditioning standard at 9,000 Btu/h.
Keywords: cooling loads and air condition.
การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค / Education of Cooling Load Suitable for Maximum: Floor Bedroom of Bangkok Feliz Bangkae Station
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand