ชื่อบทความ: | ผลของช่วงเวลาการวิเคราะห์ที่มีต่อระดับการให้บริการของคนเดินเท้าบนทางเดินในระบบขนส่งมวลชน |
Research Article: | Effect of Analysis Period on Pedestrian Level of Service at Walkway in Transit System |
ผู้เขียน|Author: | ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล และ ทวีศักดิ์ บรรณวิรุฬห์ | Thakonlaphat Jenjiwattanakul & Thaweesak Banwirun |
Email: | thakonlaphat.jen@siam.edu |
ภาควิชา|คณะ: | ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2560 นครราชสีมา| The 22nd National Convention on Civil Engineering (NCCE22) & The Intermational Convention on Civil Engineering (ICCE2017) July 18-20, 2017, Nakhon Ratchasima, THAILAND |
การอ้างอิง|Citation
ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล และ ทวีศักดิ์ บรรณวิรุฬห์. (2560). ผลของช่วงเวลาการวิเคราะห์ที่มีต่อระดับการให้บริการของคนเดินเท้าบนทางเดินในระบบขนส่งมวลชน. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Jenjiwattanakul T., & Banwirun T. (2017). Effect of analysis period on pedestrian level of service at walkway in transit system. In The 22nd National Convention on Civil Engineering (NCCE22) & The Intermational Convention on Civil Engineering (ICCE2017). Nakhon Ratchasima: Rajamangala University of Technology Isan & Suranaree University of Technology.
บทคัดย่อ
ระดับการให้บริการเป็นการวัดคุณภาพและสมรรถนะของสิ่งอานวยความสะดวกด้านการขนส่ง สาหรับทางเดินเท้า ระดับการให้บริการพิจารณาจากพื้นที่เฉลี่ยต่อคนเดินเท้าและอัตราการไหลเฉลี่ย พื้นที่ที่มากกว่าซึ่งเกิดในช่วงที่มีอัตราการไหลน้อยกว่าจะให้ค่าระดับการให้บริการที่ดีกว่าเนื่องจากคนเดินเท้ามีอิสระในการเคลื่อนที่มากกว่า ตามคู่มือความจุและคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนระบุว่าระดับการให้บริการของคนเดินเท้ามักจะวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยในช่วง 15 นาทีที่หนาแน่นที่สุด อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้อาจจะคลุมเครือไม่เห็นปัญหาของคนเดินเท้าจากค่าระดับการให้บริการที่ดีเกินจริง สาหรับสถานีในระบบขนส่งมวลชน รถไฟจะมาตามตารางเวลาที่กาหนดไว้ ผู้โดยสารที่ลงที่สถานีจะมาเป็นขบวนที่หนาแน่นแล้วกระจายตัวออกไปจากสถานี สถานการณ์เช่นเดียวกันนี้จะพบได้ในทางเดินเท้าในบริเวณใกล้เคียง จากการเก็บข้อมูลที่ทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่หนาแน่นเพื่อศึกษาผลของช่วงเวลาการวิเคราะห์ที่มีต่อค่าระดับการให้บริการ ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าทางเดินเชื่อมดังกล่าวมีระดับการให้บริการ A แต่ในสภาพจริงมีคนเดินเท้าหนาแน่นสูงมาก ค่าระดับการให้บริการที่บิดเบือนไปนี้เป็นผลมาจากการใช้ช่วงเวลาวิเคราะห์ 15 นาที การเลือกช่วงเวลาการวิเคราะห์มีผลต่อความสอดคล้องของค่าระดับการให้บริการกับสภาพที่เป็นจริง ในการออกแบบสิ่งอานวยความสะดวกในสถานีสาหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนในอนาคต ควรมีการพิจารณาในเรื่องนี้ด้วยเพื่อปรับปรุงระดับการให้บริการของคนเดินเท้าให้ดีขึ้น
คำสำคัญ: ระดับการให้บริการ, คนเดินเท้า, ทางเดินเท้า, ขนส่งมวลชน
ABSTRACT
The level of service (LOS) is a measure of quality and performance of the transport facilities. For walkway, the LOS is based on the average pedestrian space and average flow rate. The larger space, which happens during the smaller flow rate, shows the better LOS, as pedestrians are more independent to move. According to the Transit Capacity and Quality of Service Manual, the pedestrian LOS is typically analyzed based on the average value over the busiest 15-min period. However, the results may obscure pedestrian circulation problems, as it shows too optimistic LOS. For transit station, the train is coming on the scheduled headway. The alighting passengers come as a platoon during a short period and then dissipate from the station. The situation would be same at the adjacent walkway. The data collection at the skywalk adjacent to the busy station is conducted in order to study the effect of the analysis period on the resulting pedestrian LOS. The results show that the pedestrian LOS on the skywalk is “A” but the real situation shows a very high density of pedestrian on the skywalk. This distorted LOS is a result of the analysis across inappropriate analysis period of 15 minutes. The selection of the analysis period affects the consistency of the resulting LOS. This concern should be raised to the design of the facilities in transit station for the future projects in order to improve the pedestrian LOS.
Keywords: level of service, pedestrian, walkway, Transit.
ผลของช่วงเวลาการวิเคราะห์ที่มีต่อระดับการให้บริการของคนเดินเท้าบนทางเดินในระบบขนส่งมวลชน |Effect of Analysis Period on Pedestrian Level of Service at Walkway in Transit System
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand