หัวข้อปริญญานิพนธ์: Project Title: |
การจัดการพลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์อาคาร เพร์ล แบงก์ค๊อก Energy Management in Centralized Air Conditioning Systems at the Pearl Bangkok Building |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นาย นาคินทร์ เกาะสมบัติ Mr.nakin kaosombut |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ วุฒิกรณ์ จริยตันติเวทย์ Mr. Wutikorn Jariyantitiwet |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปริญญาตรี ( อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ) Bachelor of Industrial Technology |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2561 3/2018 |
การอ้างอิง/citation
นาคินทร์ เกาะสมบัติ. (2561). การจัดการพลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ณ อาคาร เพร์ล แบงก์ค๊อก. (โครงงาน). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
อาคาร เพร์ล แบงก์ค๊อก เป็นอาคารควบคุมตามกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ของกระทรวงพลังงาน อาคารดังกล่าวได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบปรับอากาศซึ่งเป็นนัยสำคัญต่อการใช้พลังงานจึงได้มีการศึกษาระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์โดยระบายความร้อนด้วยน้ำ และได้มีการจัดทำคู่มือจากการศึกษาพบว่าการลดการใช้พลังงานไฟฟ้ามี 3 มาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ 1 การบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์และปรับแต่งอุปกรณ์ในระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 33,000.70 kWh/ปี คิดเป็นเงินประหยัดได้ 138,602.94 บาท/ปี ระยะคืนทุน 1.25 ปี มาตรการที่ 2 มาตรการเพิ่มอุณหภูมิขึ้น 1 องศาเซลเซียส สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 4,736,686.85 kWh/ปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 19,894,084.77 บาท/ปี ระยะคืนทุน 0.50 ปี มาตรการที่ 3 ปิดเครื่องทำความเย็นก่อนเลิกงาน 30 นาที สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 292,219.2 kWh/ปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 1,227,320.64 บาทต่อปี ระยะคืนทุน ไม่มี สรุป ผลประหยัดรวมทั้ง 3 มาตรการ สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้ารวมได้ 5,061,906.75 kWh/ปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดรวมได้ 21,260,008.35 บาท/ปี
คำสำคัญ : การจัดการด้านพลังงาน, ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์, พลังงานไฟฟ้า
Abstract
The Pearl Bangkok building is controlled by the Department of Alternative Energy Development and Efficiency of the Ministry of Energy The building uses electrical energy from air-conditioning systems, which is significant to energy use. Therefore, the central air-conditioning system was studied by cooling water and a manual has been created. According to the study, it was found that there were 3 measures to reduce electricity usage as follows : 1 ) maintenance of machinery, equipment, and adjusting equipment in the system to increase efficiency can reduce electricity consumption by 33,000.70 kWh/year, saving 138,602.94 Baht/year with a payback period of 1.25 years ; 2 ) the temperature increased by 1 degree celsius, can reduce the electricity consumption by 4,736,686.85 kWh/year, equivalent to the amount 19,894,084.77 Baht/year with a payback period of 0.50 years ; 3 ) turning off the chiller 30 minutes before work can reduce the use of electricity by 292,219.2 kWh/year, representing a savings of 1,227,320.64 Baht/year. The payback period does not have a summary of the overall savings. All 3 measures can save the total electricity energy 5,061,906.75 kWh/year, representing the total savings 21,260,008.35 Baht/year
Keywords : Energy management, Central air conditioning system, Electric power.
การจัดการพลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ณ อาคาร เพร์ล แบงก์ค๊อก / Energy Management in Centralized Air Conditioning Systems at the Pearl Bangkok Building
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand