ชื่อโครงงาน: Project Title: |
เทียนหอมอโรม่าจากแอปเปิ้ลเขียว Green Apple Aroma Scented Candle |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวจิตรลดา สาธิตนิมิตชัย Miss Jitlada Satitnimitchai |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์จินต์จุฑา ไชยศรีษะ Miss Jinjutha Chaisrisa |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2564 3/2021 |
การอ้างอิง/citation
จิตรลดา สาธิตนิมิตชัย. (2564). เทียนหอมอโรม่าจากแอปเปิ้ลเขียว. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Satitnimitchai J. (2022). Green apple aroma scented candle. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.
บทคัดย่อ
โรงแรมเมอร์เคียวไอบิส กรุงเทพ สยาม มีการบริการในด้านห้องพัก ห้องอาหาร ห้องประชุมสัมมนา ซึ่งผู้จัดทำได้เข้าปฎิบัติสหกิจศึกษาในแผนกแม่บ้าน ผู้จัดทำเล็งเห็นว่าห้องอาหารนั้นมักจะมีกลิ่นอาหารมารบกวนรวมถึงล็อบบี้ ซึ่งทางโรงแรมได้แก้ปัญหาโดยให้ทางพนักงานทำความสะอาดฉีดสเปรย์น้ำยาดับกลิ่น แต่การฉีดสเปรย์น้ำยาดับกลิ่นทำให้เป็นการรบกวนแขกภายในโรงแรม และผู้จัดทำเล็งเห็นว่าทางโรงแรมบริการ Welcome Fruit อย่างแอปเปิ้ลเขียวซึ่งบางลูกมีรอยช้ำที่ไม่สามารถเสิร์ฟบริการได้จำนวนมากและภายในห้องพักแขกที่ไม่รับประทานแอปเปิ้ลเขียว วัตถุประสงค์ในการทำโครงงานเทียนหอมอโรม่ากลิ่นแอปเปิ้ลเขียว 1) เพื่อนำผลไม้เหลือใช้มาประยุกต์ใช้ในการทำเทียนหอมดับกลิ่น 2) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้กับสถานประกอบการ
เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงานเทียนหอมอโรม่ากลิ่นแอปเปิ้ลเขียวทางผู้จัดทำได้ทำการประเมินความพึงพอใจในการทำเทียนหอมอโรม่ากลิ่นแอปเปิ้ลเขียวโดยการแจกแบบสอบถามให้กับพนักงานแผนกแม่บ้านจำนวน 30 ชุด เพศหญิง 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60 เพศชาย 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และผลสำรวจความพึงพอใจพบว่า ด้านความสะดวกต่อการใช้งานได้รับร้อยละ 4.50 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อใช้เทียนหอมอโรม่ากลิ่นแอปเปิ้ลเขียวแล้วได้ร้อยละ 4.20 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.60
คำสำคัญ: เทียนหอม, แอปเปิ้ลเขียว, อโรม่า
Abstract
The Mercure Ibis Bangkok Siam Hotel has room service, restaurant rooms and conference rooms. The student was assigned in the housekeeping department noticed that the eight restaurant rooms often had a disturbing food smell in the lobby. The solution for this was fragrance spray, which was sprayed by the maids and helped in minimizing unpleasant odors, however, the spray disturbed the guests around the hotel areas. The researcher noticed that the hotel served welcome fruit such as green apples, some green apples were bruised and cannot be served and others inside the guest rooms that didn’t get eaten. The objectives for making a green apple scented candle were: 1) To use the leftover fruit to make scented candles to deodorize; 2) To create a new product for the establishment.
To study the outcome of the green apple aroma scanted candle project, the researcher distributed a total of 30 questionnaires to the housekeeping department, 18 females represented 60 percent and 12 males represented 40 percent. The satisfaction survey results found that ‘ Ease of use’ was averaged 4.50 at a highest level. When using Green Apple Aromatic Candle, the mean was 4.20 and the total standard deviation was 0.60.
Keywords: scanted candle, green apple.
เทียนหอมอโรม่าจากแอปเปิ้ลเขียว|Green Apple Aroma Scented Candle
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand