หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร Implementation of the Vocational Education Development Plan B.E. 2560 – 2579 (2017-2036): Production and Development of Vocational Manpower to Enhance the Country’s Capability and Competitiveness, Institute of Vocational School in Bangkok |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวภิญญาพัชญ์ หนองหาญ Miss Pinyapat Nonghan |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.นลินี สุตเศวต Dr. Nalinee Sutsavade, Ph.D. |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) Master of Education |
สาขาวิชา: Major: |
การบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา Educational Administration and Leadership |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2565 2022 |
URL: Published|แหล่งเผยแพร่ผลงาน |
แหล่งเผยแพร่ผลงาน เรื่อง การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560 – 2579 ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ใน การประชุมวิชาการ และเผยแพร่งานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 5 (ออนไลน์) “นวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ปกติวิถีใหม่” 27 กุมภาพันธ์ 2564 โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (สสอท.) |
การอ้างอิง|Citation
ภิญญาพัชญ์ หนองหาญ. (2565). การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
Nonghan P. (2022). Implementation of the vocational education development plan B.E. 2560 – 2579 (2017-2036): Production and development of vocational manpower to enhance the country’s capability and competitiveness, institute of vocational school in Bangkok. (Master’s thesis). Bangkok: Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2. เปรียบเทียบการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ วิทยาลัยอาชีวะศึกษา จำนวน 13 สถาบัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้ที่รับผิดชอบงานแผน/โครงการของวิทยาลัย รวม 68 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. หาค่าร้อยละ 2. หาค่าเฉลี่ย 3. การเปรียบเทียบโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) 4. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
- การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ใน 3 กลยุทธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่ 1 มีการดำเนินงานอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด ( =4.64) ส่วนกลยุทธ์ที่ 2 และ 3 มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.48) และ ( = 4.81) ตามลำดับ
- เปรียบเทียบการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า การดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันไม่มีความแตกต่างกัน
- แนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ในภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ควรสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการประสานงานและดำเนินงานทั้งในส่วนของแผนงาน โครงการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
คำสำคัญ : การดำเนินงาน, แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา, อาชีวศึกษา
Abstract
The purposes of study were: 1) to study the implementation of the vocational education development plan (B.E. 2560–2579, 2017–2036) with regards to production; and development of vocational manpower to optimize the country’s competitiveness; 2) to compare the implementation of the plans according to the different sizes of schools, and 3) to study the development guidelines at the policy and educational levels. Directors, deputy directors, and responsible teachers involved in college planning and projecting, totaling 68 people, were selected from 13 vocational colleges as population. The study was conducted through a questionnaire and a structured interview. Percentage, Mean, Analysis of Variance (ANOVA), and Content Analysis were used to analyze the data. The research found that : 1) Implementation of the three strategies in the vocational education development plan B.E. 2560-2579 (2017-2036): Overall strategies were performed at a high level, with Strategy 1 performing at the highest level ( = 4.64), while Strategies 2 and 3 performed at high levels ( = 4.48 and ( = 4.81) respectively. 2) Comparison of the implementation of the vocational education development plan (B.E. 2560–2579, 2017–2036) according to the different sizes of the educational institutes: It was found that there was no difference in the implementation. 3) Guidelines for the implementation of the vocational education development plan B.E. 2560–2579 (2017–2036): The management of the schools should promote and support the implementation according to the specified goals. In addition, collaboration among all relevant sectors should be initiated to coordinate and implement the plans systematically.
Keywords: Implementation, Vocational Education Development Plan, Vocational Education.
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579 ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
Implementation of the Vocational Education Development Plan B.E. 2560 – 2579 (2017-2036): Production and Development of Vocational Manpower to Enhance the Country’s Capability and Competitiveness, Institute of Vocational School in Bangkok
Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand