Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน

Last modified: October 4, 2022
You are here:
Estimated reading time: 3 min
ชื่อบทความ: การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน
Research Article: Promoting Self – Care Through the Use of Augmented Reality: Case Study of Diabetic Patients, Diabetic Clinic, Taksin Hospital
ผู้เขียน/Author: จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติมานะอารี และ สุมิตรา ชูแก้ว | Jaratdao Reynolds
Email: jaratdao.rey@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน

การอ้างอิง|Citation

จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติมานะอารี และ สุมิตรา ชูแก้ว. (2563). การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Reynolds J. (2020). Promoting self – care through the use of augmented reality: Case study of diabetic patients, diabetic clinic, Taksin Hospital (Research Report). Bangkok: Faculty of Nursing, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (one group pre test – post test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง (Augmented Reality, AR) ในการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่  วิธีดำเนินการวิจัยแบ่ง 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสำรวจความต้องการความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ระยะที่ 2 นำผลการสำรวจมาพัฒนาสื่อความรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้เทคโนโลยี AR ในรูปแบบ CARD PVC (DM SMART card) ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการนำ DM SMART Card ไปใช้ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ที่เข้ามารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน จำนวน 64 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงและตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย DM SAMRT card แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง แบบประเมินและสัมภาษณ์ความพึงพอใจ โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้ DM SAMRT card ระยะเวลา 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Paired Samples t-test ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนาสื่อการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่โดยใช้เทคโนโลยี AR ในรูปแบบ Card PVC โดยให้ชื่อว่า “DM SMART CARD” ด้านหน้าประกอบด้วย VR ความรู้ 4 เรื่อง ได้แก่ เบาหวานคืออะไร ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน อาหารและการออกกำลังกาย การบริหารยา และการดูแลเท้า ด้านหลัง ประกอบด้วย QR code แสดงค่าระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมคำแนะนำเมื่อค่าเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและแสดงระบุตำแหน่งการฉีดยาหน้าท้อง เพื่อป้องกันการฉีดยาซ้ำตำแหน่งเดิม

2. ผลการเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนองก่อนและหลังการใช้ DM SMART card พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเองทุกด้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

3. ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ DM SMART Card พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อ DM SAMRT card ในระดับมาก (mean= 3.58, S.D.= 0.75) โดยมีความพึงพอใจสูงสุดด้านการมีประโยชน์ (x̄ = 3.63, S.D. = 0.70) รองลงมาคือ ด้านการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง (x̄ = 3.58 , S.D. = 0.78) และด้านระยะเวลา และด้านภาษา (x̄ = 3.56, S.D. = 0.76, x̄ = 3.55, S.D. = 0.80) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้แสดงว่า การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานผ่านทางเทคโนโลยี AR ช่วยกระตุ้นความสนใจมีผลให้เพิ่มความรู้ความเข้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ตอบสนองความต้องการในการใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมและใช้เป็นทางเลือกสำหรับการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยเบาหวานได้


ABSTRACT

This study aimed at exploring the impact of using virtual media using Augmented Technology, via smartphones, to present health information for patients with newly diagnosed Type II diabetes mellitus. A quasi-experimental, one group, pre and post-test design was utilised. The research consisted of three phases. Phase I was reviewed and health information related to self-care knowledge and behavior of patient with diabetes mellitus (DM). Phases II was to design and apply augmented reality (AR) technology using information from Phase I to present health information on smartphones. Phase III examined the effectiveness of developed media on changing self-care knowledge and behaviour and users’ satisfaction. The subjects were selected by purposive sampling and specific criteria. The sample consisted of 64 newly diagnosed Type II diabetes mellitus patients. Questionnaires and semi-structured interview were used to collect the data pre and post patient engagement with the DM Smart Card for a period of 6 months. The results of this study were as follows:

1) AR technology was applied to develop communication media in the form of a PVC card for patients with newly diagnosed Type II diabetes mellitus named the ‘DM Smart
Card’. The front of the DM Smart card was composed of information relating to general knowledge of DM, potential complications, diet and exercise, medication management, and foot care. The back of the card was designed using a QR code. The first QR code use was for the analysis of blood sugar levels and to give advice for lowering and raising blood sugar levels. The second QR code was utilised for site selection for insulin injections around the abdominal area.

2) The results revealed that the average score of diabetes knowledge and self-care behaviour were significantly higher at the level of .001. 3) The results showed that, overall, patients were satisfied with the use of the DM SMART card at a high level ( X = 3.58, S.D.= 0.75). For all attributes, the usefulness of the card ranked at the highest level ( X = 3.63, S.D. = 0.70). The usability was ranked as the second highest ( X = 3. 58 , S.D. = 0 . 78) and length of presented information and clarity of language used ( X = 3.56, S.D. = 0.76, X = 3.55, S.D. = 0.80) respectively.

The key conclusion of the study was that the ‘DM Smart card’ was able to motivate and enhance newly diagnosed Type II diabetes users’ interest and understanding relating to selfcare. It is also met the demand of users regarding learning, anywhere and anytime. The results of this study can be utilised as a guideline to develop communication media using AR technology as an option to communicate health information to newly diagnosed Type II diabetes individuals.


การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน | Promoting Self – Care through the Use of Augmented Reality: Case Study of Diabetic Patients, Diabetic Clinic, Taksin Hospital

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม: