ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Last modified: October 5, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Research Article: The Relationship Between Social Support and Stress of Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia
ผู้เขียน/Author: ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ | Lunchana Phimphanchaiyaboon, Suparun Phasuk, Nuruemol Angsirisak, Natamon Boonlom & Susaree Prakhinkit
Email: wipanun.mua@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of  Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) พ.ศ. 2564 | Journal of Health and Nursing Research Volume 37 No.2 September-Dember 2021

การอ้างอิง/citation

ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3).


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ภายใต้กรอบแนวคิดของความเครียดของลาซารัสและโฟล์คแมน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ผู้ดูแลหลักที่พักอาศัย ใน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 93 ราย เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลผู้ดูแล แบบวัดความเครียด และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติบรรยายและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับความเครียด ด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่ พบว่ามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.60) ผู้ดูแลได้รับแรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร (X = 2.47 , SD = 0.52) และด้านการเปรียบเทียบและประเมินคุณค่า (X = 2.37, SD = 0.51) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ และการสนับสนุนด้านการเปรียบเทียบและประเมินคุณค่ามีความสัมพันธ์ทางลบกับ ความเครียดของผู้ดูแล (r = -0.347, – 0.320 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติงานของพยาบาลชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และสามารถพัฒนาเป็นโปรแกรมผ่อนคลายความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
ต่อไป

คําสําคัญ: ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภท


ABSTRACT

The descriptive research aimed to study the level of expectations, perceptions and the difference between the level of expectations and perceptions of clients regarding ethical behaviour in nursing practice of community health nurses in Primary Care Unit. The data were collected by using questionnaires. The multi-stage random sampling was used for study area selection including Nonthaburi, Samut Sakhon, and Nakhon Pathom. 444 sample were selected by purposive sampling according to inclusion criteria. Descriptive statistics (i.e. frequencies, percentage, mean, and standard deviation) and inferential statistics (i.e. Paired t-test) were used for analyzing the data.

This research was descriptive research aimed to investigating stress of caregiver caring for patients with schizophrenia. The stress theory of Lazarus and Folkman was employed as the conceptual framework of this study. The study sample consisted of 93 family caregivers of patients with schizophrenia. The data were collected for the period of three months. The instruments were developed and divided family caregivers’ demographic characteristics, the second part : stress and social support. Data were analyzed using descriptive statistics and correlation analyzed using Pearson ‘ s Correlation Coefficient. The study findings revealed that stress level of caregivers was at a moderate level (59.60%). The cargivers were supported moderately for social support for information (X = 2.47, SD = 0.52) and comparative and valued measure (X = 2.37, SD = 0.51) accordingly. The social support for emotional and comparative and valued measure had negatively correlated with the stress of caregivers (r = – 0.347, – 0.320, respectively) statistically significant at .05.

The results from the research can be used as basic information for the performance of community nurses in the care of schizophrenic patients. And can be developed as a stress-relieving program for schizophrenic caregivers

Keywords: Stress, Social support, Caregivers, Patients with Schizophrenia.


ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท | The Relationship Between Social Support and Stress of Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia

Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1266
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles