หัวข้อสารนิพนธ์: Project Title: |
ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย Relationship between reward with motivation of Paddle Athletes Thailand National Team |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นาย ฐิตินันท์ วงษ์มั่น Mr.Titinun Vongman |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.รุ่งโรจน์ สงสระบุญ Dr. Rungroje Songsraboon |
ระดับการศึกษา: Degree: |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) Master of Business Administration |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการทั่วไป General Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2561 2018 |
การอ้างอิง/citation
ฐิตินันท์ วงษ์มั่น. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย ทั้งอดีตและปัจจุบัน จำนวน 400 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือเลือกใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานในการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regressions)
ผลการศึกษาพบว่า นักกีฬาเรือพายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 290 คนซึ่งเพศหญิงมีจำนวน 110 คน มีอายุอยู่ในช่วงกลุ่มคนวัยทำงานโดยมีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป นักกีฬาที่มีประสบการณ์ น้อยกว่า 3 ปี และรางวัลในการเล่นกีฬาเรือพายพบว่า เงินรางวัลมีจำนวนมากที่สุด โดยมีจำนวนทั้งหมด 262 คน ประชากรส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทยอยู่นระดับมากที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย มีค่า sig เท่ากับ 0.000* ซึ่งมีค่าน้อยกว่า α=0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน H-0 และยอมรับสมมติฐาน H-1 แสดงว่า ผลตอบแทนในการเล่นกีฬาเรือพายมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย
คำสำคัญ: ความสัมพันธ์ แรงจูงใจ ผลตอบแทน นักกีฬาเรือพาย
Abstract
The purpose of this research was to study the relationship between reward and motivation of being a Thai national rowing boat athlete. The sample group selected for this study was Thai national rowing boat athletes, both past and present, was 400 by simple random sampling. The tool used to collect data was questionnaires. Statistics used in data analysis include frequency, distribution, mean, percentage and standard deviation. Hypothesis testing used multiple regression analysis.
The study indicated that the majority of rowing boat athletes were male, 290 people, and 110 are female. They are in the working age group, over 20 years of age. Athletes with less than 3 years of experience and winning of rowboat athletes found that The prize amount is the highest, with a total of 262 people. Most of the population gives importance to rewards and incentives, from being the highest level national rowing athlete.
The hypothesis test found that the results of the analysis of the relationship between returns and motivation of being a Thai national rowing boat athlete found that significant is equal to 0.000 * which is less than α = 0.05 Therefore, rejecting the hypothesis H-0 and accepting the H-1 hypothesis showed that the rewards for playing sports was related to the motivation of being a Thai national rowing boat athlete.
Keywords: Relationships, motivation, return of an investment, Rowing boat athlete.
ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับแรงจูงใจของการเป็นนักกีฬาเรือพายทีมชาติไทย
Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand