Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การรับกำลังของซีเมนต์มอร์ต้าผสมผงพอลิเมอร์ PET

Last modified: June 20, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การรับกำลังของซีเมนต์มอร์ต้าผสมผงพอลิเมอร์ PET
Title: The Properties of Cement Mortar Mixed with Powder Polymer PET
ผู้วิจัย:
Researcher:
ไตรทศ ขําสุวรรณ, Bundam Ro | Trithos Kamsuwan
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – ฺBachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering
สาขาที่สอน:
Major:
วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
การประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 “จากภูมิปัญญาที่สืบสานสู่การรังสรรค์โลกที่ยั่งยืน” วันที่ 29 – 31 พฤษภาคม 2567 (หน้า MAT51-1 – MAT51-1-6) | The 29th National Convention on Civil Engineering Conference (NCCE29) “From Knowledge to Transformation” May 29-31, 2024 (pp. MAT51-1 – MAT51-1-6)  NCCE29

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการทดสอบความเหมาะสมด้านกลสมบัติการรับกำลังของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าผสมผงพอลิเมอร์ PET ที่นำมาจากเศษผงที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยการทดสอบที่สัดส่วนผสมตามน้ำหนักการแทนที่ของปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วนน้ำหนัก ซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อน้ำหนักทราย 2.5 ส่วน และการผสมเพิ่มของผงพอลิเมอร์ PET เป็นเปอร์เซนต์สัดส่วนที่ 0, 3, 5, 10 และ 15 เทียบตามน้ำหนักปูนซีเมนต์ ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM ซึ่งจากการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัด แรงดัด แรงดึง การดูดซึมน้ำ และการไหลแผ่ ของก้อนตัวอย่างการทดสอบอย่างละ 5 ตัวอย่าง เฉลี่ยเป็นค่ากำลังต่างๆ ได้ผลสรุปดังนี้ กลสมบัติในการรับกำลังของซีเมนต์มอร์ต้าที่ผสมด้วยผงพอลิเมอร์ PET ได้มาจากของเหลือในกระบวนการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติก ช่วยเพิ่มค่ากลสมบัติการรับแรงอัด แรงดัด แรงดึง โดยอัตราส่วนการผสมเพิ่มของผงพอลิเมอร์ประมาณร้อยละ 3-5 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ มีค่าสูงสุดของแรงอัดเท่ากับ 33.5 MPa. แรงดัดเท่ากับ 6.41 MPa. และ แรงดึงเท่ากับ 4.34 MPa. ที่อายุ 28 วัน ของสัดส่วนการผสมเพิ่มของผงพอลิเมอร์ PET ที่ 3 เปอร์เซนต์ตามน้ำหนักปูนซีเมนต์ และเมื่อผสมในอัตราส่วนการผสมเพิ่มของผงพอลิเมอร์ประมาณร้อยละ 10-15 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์จะให้ผลค่ากำลังต่างๆที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับซีเมนต์มอร์ต้าปกติที่ไม่ได้ผสมผงพอลิเมอร์ PET ในสัดส่วน w/c = 0.6

Keywords: พอลิเมอร์ PET, ซีเมนต์มอร์ต้า, การรับกำลัง


Abstract

This study was testing the mechanical suitability for strength of cement mortar mixed with PET polymer powder. They are a waste from the packaging industry. These testing are mixing ratio according to the weight of cement replacement in the weight ratio of 1 part cement to 2.5 parts weight of sand and the addition of PET polymer powder in percentages of 0, 3, 5, 10 and 15 relatives to the weight of cement. Tested according to ASTM standards, which from testing the compressive strength, bending strength, tensile strength, water absorption and flow table. This study was tested by each sample of 5 samples, averaged for various power values. Results are summarized as follows: The mechanical strength of cement mortar mixed with PET polymer powder was derived from waste in the production of plastic containers. They can increase the mechanical properties of compressive strength, flexural strength, and tensile strength by the mixing ratio of polymer powder about 3-5 percent of cement weight. The maximum compressive strength was 33.5 MPa., flexural strength was 6.41 MPa., and tensile strength was 4.34 MPa. at 28 days of the additive proportion of PET polymer powder at 3 percent by weight of cement. Also, when mixed in the mixing ratio of polymer powder about 10-15 percent of the weight of cement, it results in a reduction in strength values. When we compared to normal cement mortar without PET polymer powder in the proportion of w/c = 0.6.

Keywords: PET Polymer, Cement Mortar, Mechanical Properties


The Properties of Cement Mortar Mixed with Powder Polymer PET. 2566 (2023). การรับกำลังของซีเมนต์มอร์ต้าผสมผงพอลิเมอร์ PET. บทความ (Paper). Advisor: ผศ. ดร.ไตรทศ ขําสุวรรณ – Asst. Prof. Dr. Trithos Kamsuwan. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|Science and Technology. วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering). วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – ฺBachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering. วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering). Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|Science and Technology, วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – ฺBachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering,วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering)