ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การศึกษาคุณภาพอากาศจากกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัท ไทยรุ่งยูเนื่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) The Study of Air Quality in the Painting Process at Thai Rung Union Car Public Company Limited |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวสุดาพร พรสุวรรณ Miss Sudaporn Pornsuwan |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์วิรจิรวัส รวิชญทรัพย์ Mr. Wirajirawat Rawichayasub |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science (B.Sc.) |
ภาควิชา: Major: |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupational Health and Safety |
คณะ: Faculty: |
สาธารณสุขศาสตร์ Public Health |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2565 2/2022 |
การอ้างอิง|Citation
สุดาพร พรสุวรรณ. (2565). การศึกษาคุณภาพอากาศจากกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัท ไทยรุ่งยูเนื่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน). (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Pornsuwan S. (2022). The study of air quality in the painting process at Thai Rung Union Car Public Company Limited. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Public Health, Siam University.
บทคัดย่อ
กระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ของกิจการผลิตรถยนต์ เป็นกระบวนการที่เกิดมลพิษอากาศจากการทำงานได้ โดยเฉพาะสารอินทรีย์ระเหยง่าย(VOCs) หากจัดการมลพิษอากาศจากกระบวนการผลิตไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในการทำงาน สุขภาพของคนงาน และความเดือดร้อนต่อชุมชนโดยรอบได้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามลพิษอากาศจากกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ (2) เพื่อศึกษาอาการแสดงความเป็นพิษเกี่ยวกับมลพิษอากาศจากคนงานแผนกพ่นสี (3) เสนอแนวทางลดปัญหามลพิษอากาศ จากการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่สามารถเข้าสู่ระบบหายใจส่วนปลายได้ โทลูอีน และไซลีนในกระบวนการพ่นสีมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน นอกจากนี้คนงานในแผนกพ่นสีไม่มีอาการแสดงความเป็นพิษจากการได้รับสัมผัสมลพิษอากาศในการทำงาน แต่สถานประกอบการได้รับการร้องเรียนจากชุมชนเกี่ยวกับสีติดรถยนต์ของคนในชุมชน การศึกษานี้จึงได้เสนอแนะให้ทำการพ่นสีในพื้นที่ปิด และปรับปรุงอาคารพ่นสีให้มิดชิด
คำสำคัญ : แผนกพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์, ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลายได้, โทลูอีน,ไซลีน
Abstract
The process of painting automotive components in car manufacturing can generate air pollution, particularly from volatile organic compounds (VOCs). Inappropriate management of air pollutants may have adverse effects on the quality of the work environment, health of the workers, and nuisance of the surrounding community. The aims of this study are: (1) to examine air pollutants that are emitted during the painting process; (2) to examine the health symptoms of health of works; (3) to suggest a guideline that reduces air pollution in the painting process. The result shows the concentration of respirable dust, toluene and xylene are lower than standard. In addition, symptoms of exposure to respirable dust and VOCs in the works not present. However, the company receives complaints about painting particle that stick to the car’s in the community. So, this study suggests to paint the automotive components in enclosure room and cover the building, with a focus on volatile organic compounds (VOCs) and particulate matter (PM) that can enter the respiratory system.
Keyword: Painting, automotive component, respirable dust, toluene, xylene
การศึกษาคุณภาพอากาศจากกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัท ไทยรุ่งยูเนื่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน)|The Study of Air Quality in the Painting Process at Thai Rung Union Car Public Company Limited
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Public Health, Siam University, ฺBangkok, Thailand