การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด

Last modified: July 14, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด
Ergonomic Risk Assessment of Company Employees Thai Aviation Industries Co., Ltd.
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวปฐมาวดี กล่อมเจริญ
Miss Pathamawadee Klomcharoen
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์จันทราทิพย์ คาระวะ
Miss Chandrathip Karawa
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science (B.Sc.)
ภาควิชา:
Major:
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Occupational Health and Safety
คณะ:
Faculty:
สาธารณสุขศาสตร์
Public Health
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2/2565
2/2022

การอ้างอิง|Citation

ปฐมาวดี กล่อมเจริญ. (2562). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Klomcharoen P. (2022). Ergonomic risk assessment of Company Employees Thai Aviation Industries Co., Ltd. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Public Health, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยทำการศึกษาท่าทางการนั่งทำงานของพนักงานในสำนักงานด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA) จำนวน 31 คน พบว่า ร้อยละ 9.7 ยังไม่มีความเสี่ยง (1-4 คะแนน) และร้อยละ 90.3 มีความเสี่ยงสูง ควรมีการวิเคราะห์สถานีงานเพิ่มเติม เพื่อทำการปรับปรุง (มากกว่า 5 คะแนน) หลังจัดกิจกรรมลดความเสี่ยงโดยการให้ความรู้เกี่ยวกับท่าทางการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน และการบริหารร่างกายที่เหมาะสมแล้ว พบว่า จำนวนผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 29 และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงลดลงเหลือร้อยละ 71 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทางการยศาสตร์ก่อนและหลังให้ความรู้ด้วยวิธี Paired t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเสี่ยงก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 6.03 (SD = 1.57) และค่าเฉลี่ยคะแนนความเสี่ยงหลังจัดกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 5.06 (SD = 1.06) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.0001 (t = 4.43)

นอกจากนี้ ยังได้ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ทั่วร่างกายในพนักงานยกของด้วยวิธี Rapid Entire Body Assessment (REBA) จำนวน 1 คน พบว่า พนักงานมีคะแนนความเสี่ยงเท่ากับ 12 คะแนนซึ่งมีความเสี่ยงสูงมาก ควรรีบปรับปรุงทันที โดยอวัยวะที่มีความเสี่ยงได้แก่ช่วงลำตัวและหลัง  หลังจัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อลดความเสี่ยง พบว่าคะแนนความเสี่ยงลดลงเหลือ 10 คะแนน ทว่ายังคงมีความเสี่ยงสูง จึงควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและรีบปรับปรุงต่อไป

คำสำคัญ: การยศาสตร์, ประเมินความเสี่ยง, ท่าทางการทำงาน, ROSA, REBA


Abstract

This study aimed to assess ergonomic risks among employees at Thai Aviation Industries Co., Ltd. and reduce the risk of musculoskeletal disorders. The sitting posture of office workers was studied using the Rapid Office Strain Assessment (ROSA) method, with a sample size of 31 individuals. The findings revealed that 9.7% had no risk (scores 1-4), while 90.3% had a high risk (scores above 5), requiring immediate intervention. After conducting risk reduction activities, which involved providing knowledge on proper posture, organizing the work environment, and improving flexibility, the percentage of employees without increased risk increased to 29%, and those with a high risk decreased to 71%. A paired t-test comparing the average ergonomic risk scores before and after the knowledge-sharing activity showed a statistically significant difference of 0.0001 (t = 4.43). Furthermore.               A comprehensive assessment of ergonomic risks throughout the body was performed on a single employee using the Rapid Entire Body Assessment (REBA) method, resulting in a high risk score of 12, indicating an urgent need for intervention. After the knowledge-sharing activity, the risk score decreased to 10, indicating a continued high risk that requires further analysis and prompt improvement.

Keywords:  ergonomics, risk assessment, working posture, ROSA, REBA.


 การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด   | Ergonomic Risk Assessment of Company Employees Thai Aviation Industries Co., Ltd

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Public Health, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 801
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles