ชื่อบทความ: | ข้อแนะนำในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสำหรับเภสัชกรชุมชน |
Research Article: | Treatment Guidance of Acute Diarrhea for Community Pharmacist |
ผู้เขียน|Author: | ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา, เฉลิมศรี ภุมมางกูร, พุทธรัตน์ ขันอาษา | Thanompong Sathienluckana, Chalermsri Pummangura, Buddharat Khan-asa |
Email: | thanompong.sat@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่ | วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 ต.ค.–ธ.ค. 2561 | IJPS, Vol. 14 No. 4 October–December 2018 |
การอ้างอิง|Citation
ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา, เฉลิมศรี ภุมมางกูร และ พุทธรัตน์ ขันอาษา. (2561). ข้อแนะนำในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสำหรับเภสัชกรชุมชน. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน, 14(4), 1-17.
Sathienluckana T., Pummangura C., Khan-asa B. (2018). Treatment guidance of acute diarrhea for community pharmacist. IJPS, 14(4), 1-17.
บทคัดย่อ
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ และพบได้บ่อยในร้านยา เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ หรือเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อ และมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของการสูญเสียน้ำตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรงมากบทบาทของเภสัชกรชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน คือ การซักประวัติ ประเมินความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุเบื้องต้นและพิจารณาว่าควรให้การรักษาในร้านยาหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลหลักในการเลือกยารักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในร้านยา ควรพิจารณาถึงด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และราคายา ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยเน้นการใช้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทดแทนทางปากให้ถูกต้องและเหมาะสม และพิจารณาการใช้ยาบรรเทาอาการอุจจาระร่วงชนิดต่างๆได้แก่ loperamide, racecadotril, diosmectite และ probiotics โดยต้องระมัดระวังการใช้ loperamide ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เนื่องจาก loperamide มีข้อห้ามใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และสิ่งสำคัญอีกประการ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เนื่องจากพบปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นทั้งในร้านยาและสถานพยาบาล จึงควรพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมก่อนจ่ายยาแก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันอันตรายจากยาและความเสี่ยงในการเกิดเชื้อดื้อยาในอนาคต
คำสำคัญ: โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน, เภสัชกรชุมชน, การรักษา, ยาบรรเทาอาการอุจจาระร่วง
ABSTRACT
Acute diarrhea is a common disorder in drug store and an important problem which affects to public health system. Acute diarrhea may be caused by infectious and non-infectious causes. Acute diarrhea is classified severity of illness based on degree of dehydration as mild, moderate and severe. Community pharmacists have responsibility to provide pharmaceutical care for patients with acute diarrhea. The first step of pharmaceutical care should assess the medical history, symptom severity and causes of diarrhea to consider about treatment settings of patients between drug store or referral to hospital. Selection of medications should be based on efficacy, safety and cost to provide appropriate treatment for individual patient. Pharmacotherapy of acute diarrhea should focus on 1) appropriate use of oral rehydration therapy, 2) appropriate use of antidiarrheal drugs such as loperamide, racecadotril, diosmectite and probiotics in patients with variety of medical conditions. Loperamide should be used with caution in patients with cardiovascular disease, elderly patients and children particularly young children because loperamide has contraindication in children < 2 years, 3) Consideration of antibiotics for treatment of acute diarrhea. There is a very high rate of overuse of antibiotics in drug store and hospital which lead to increase risk of antimicrobial resistance and risk of adverse events. Therefore, appropriate use of antibiotics is an important issue to prevent these problems.
Keywords: Acute diarrhea, community pharmacist, treatment, antidiarrheal.
ข้อแนะนำในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสำหรับเภสัชกรชุมชน|Treatment Guidance of Acute Diarrhea for Community Pharmacist
Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand