ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปากในผู้ป่วยที่รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดชนิดรับประทาน

Last modified: September 13, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปากในผู้ป่วยที่รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดชนิดรับประทาน
Research Article: Postoperative Complications from Oral Minor Surgery in Patients on Oral Antithrombotic Drugs
ผู้เขียน|Author: ปรีชา เจษฎาชัย, สุภาพร วิริยะจิรกุล, วราวุธ อัมพรวิโรจน์กิจ และ อุษาศิริ ศรีสกุล | Preecha Chesdachai, Supaporn Viriyajirakul, Warawut Umpornwirojkit and Usasiri Srisakul
Email: usasiri.sri@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ว.ทันต.มศว.) ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 หน้า 22-37 | SWU Dent J. Vol.13 No.2 2020 p.22-37

การอ้างอิง|Citation

ปรีชา เจษฎาชัย, สุภาพร วิริยะจิรกุล, วราวุธ อัมพรวิโรจน์กิจ และอุษาศิริ ศรีสกุล. (2563). ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปากในผู้ป่วยที่รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดชนิดรับประทาน. ว.ทันต.มศว., 13(2), 22-37.

Chesdachai P., Viriyajirakul S., Warawut Umpornwirojkit W., & Srisakul U. (2020). Postoperative complications from oral minor surgery in patients on oral antithrombotic drugs. SWU Dent J., 13(2), 22-37.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะเลือดออก และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบจากการทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปาก ระหว่างผู้ป่วยที่หยุดยาและไม่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือด

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การศึกษาเชิงสังเกตการณ์แบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลตากสิน ระหว่าง มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2561 โดยบันทึกข้อมูลในผู้ป่วยที่เข้าทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปาก และมีประวัติการหยุดยา หรือไม่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือด ก่อนทำหัตถการ และมีข้อมูลติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหัตถการ ได้แก่ ภาวะเลือดออก และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง

ผลการทดลอง: จำนวนผู้ป่วย ทั้งหมด 574 คน มีอายุเฉลี่ย 66.89 ± 10.63 ปี และร้อยละ 54.20 เป็นเพศชาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 68.30) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ร้อยละ 48.60) ใช้ยาแอสไพรินเดี่ยว (ร้อยละ 77.40) เข้ารับการถอนฟัน (ร้อยละ 92.70) และหยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดก่อนทำหัตถการ (ร้อยละ 54.18) ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วยที่ไม่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดมีอุบัติการณ์เกิดภาวะเลือดออกหลังทำหัตถการใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (ร้อยละ 1.14 และ 1.29 ตามลำดับ) และมีค่า adjusted OR เท่ากับ 0.446 (95% CI 0.080-2.494 และ p = 0.358) ในทางกลับกัน พบว่า ผู้ป่วยที่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดมีแนวโน้มเล็กน้อยต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบ หลังการทำหัตถการ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (ร้อยละ 2.57 และ 1.90 ตามลำดับ) และมีค่า adjusted OR เท่ากับ 1.422 (95% CI 0.454–4.452 และ p = 0.545)

สรุป: การไม่หยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกหลังการทำหัตถการ อย่างไรก็ตาม การหยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ดังนั้น ควรประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างรอบคอบก่อนพิจารณาการหยุดยาต้านการเกิดลิ่มเลือดก่อนทำหัตถการ

คำสำคัญ: ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาต้านเกล็ดเลือด, ศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปาก, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด , ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ


ABSTRACT

Objectives: To compare of bleedings and systemic complications after minor oral surgery between patients with interrupted antithrombotic drugs (IAT) and continued antithrombotic drugs (CAT).Materials and Methods: An observational retrospective cohort study retrieved from patient medical records at Taksin hospital between January 2017 to December 2018. Data were collected from patients who underwent oral minor surgery with a history of IAT or CAT perioperatively. Post-operative complications including bleeding, myocardial infarction, and stroke, were evaluated.Results: A total of 574 patients, (54.2% male) with mean age of 66.89 ± 10.63 years old. were included. In general, there were patients with hypertension (68.30%), type 2 diabetes mellitus (48.60%), aspirin monotherapy (77.40%), dental extraction (92.70%) and IAT (54.18%). The results showed that patients in the CAT group had a similar incidence of post-operative bleedings to the IAT group (1.14 vs. 1.29%, respectively) with an adjusted OR of 0.446 (95% CI 0.080–2.494, p = 0.358).In contrast, the IAT group had a slight trend without statistical significance towards post-operative systemic complications compared with CAT group (2.57 vs. 1.90%, respectively) with an adjusted OR of 1.422 (95% CI 0.454–4.452, p = 0.545).Conclusions: Continuing the antithrombotic drugs did not increase the post-operative bleedingrisk. However, interrupting the antithrombotic drugs may influence the risk of systemic complications.Therefore, any individual patient should be carefully assessed for the risks and benefits of antithrombotic drugs before consideration of perioperative antithrombotic interruption.

Keywords: Antithrombotic drug, Anticoagulants, Antiplatelets, Oral minor surgery, Thromboembolism,Systemic complication.


ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทำศัลยกรรมขนาดเล็กในช่องปากในผู้ป่วยที่รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดชนิดรับประทาน|Postoperative Complications from Oral Minor Surgery in Patients on Oral Antithrombotic Drugs

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 307
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code