ชื่อโครงงาน: Project Title: |
สารสกัดชีวภาพจากเปลือกสับปะรด Biological extract from pineapple peel |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาววรรณิศา อินต๊ะวิชัย Ms.Wannisa Aintawichai |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ปิยธิดา กังวานสิทธิ์ Ms.Piyatida Kungwansith |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2561 1/2018 |
การอ้างอิง/citation
วรรณิศา อินต๊ะวิชัย. (2561). สารสกัดชีวภาพจากเปลือกสับปะรด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง สารสกัดชีวภาพจากเปลือกสับปะรด จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำน้ำยาถูพื้นจากเปลือกสับปะรดและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขจัดคราบไขมันและดับกลิ่น รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนในด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำยาถูพื้น ซึ่งในแต่ละวันมีการทิ้งเปลือกสับปะรดเป็นจำนวนมากภายในครัว และยังพบว่ามีปัญหาเรื่องคราบไขมันบนพื้น ทำให้พื้นลื่นและมีกลิ่น ผู้จัดทำจึงได้ริเริ่มการทำน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรด และได้พัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาถูพื้น หลังจากที่ได้ทำการทดลองทำผลิตภัณฑ์น้ำยาถูพื้น ผู้จัดทำได้สำรวจความคิดเห็น โดยการทำแบบสอบถามความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงแรม เป็นจำนวน 30 คน เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงาน ผลการศึกษา พบว่า จากการประเมินแบบสอบถามพนักงานแผนกครัวและพนักงานแผนกแม่บ้าน มีความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ?̅ = 4.78 และ S.D = 0.33 ได้แก่ ความพึงพอใจในด้านกลิ่นของน้ำยาถูพื้น รองลงมาได้แก่ ความพึงพอในด้านสีของน้ำยาถูพื้น ความพึงพอใจในด้านบรรจุภัณฑ์ และความพึงพอใจในด้านลดต้นทุน ตามลำดับ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าโครงงานน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: น้าหมักชีวภาพ, เปลือกสับปะรด, น้ายาถูพื้น
Abstract
This project was prepared to study the way to make a cleaning agent from pineapple peel to increase the efficiency of removing grease and deodorizing, and to reduce cost from not buying general cleaning agents. A lot of pineapple peels were left in the kitchen, and this led to grease on the floor, making it slippery and leaving a bad smell. Therefore, the author initiated to make a biological fermentation agent from pineapple peels in order to produce a floor cleaning product for practical use.
After making the floor cleaning product, the author surveyed 30 hotel officers’ satisfaction through a questionnaire. The result showed that officers of the kitchen unit and housekeeping unit had the highest level of satisfaction ( ?̅ = 4.78 and S.D = 0.33). An aspect with the highest satisfaction was smell, followed by color, packaging and cost reduction, respectively. Thus, this final project was evaluated at the highest level of satisfaction.
Keywords: Biological fermentation agent, Pineapple peel, Floor cleaning agent.
สารสกัดชีวภาพจากเปลือกสับปะรด / Biological extract from pineapple peel
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand