Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การออกแบบท่อส่งลมเย็นในอาคารสำนักงาน กรณีศึกษาโครงการ ปัญญ์

Last modified: December 8, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
การออกแบบท่อส่งลมเย็นในอาคารสำนักงาน กรณีศึกษาโครงการ ปัญญ์
Designing a Supply Air Duct for Office Buildings : A Case Study of Punn Project
ชื่อผู้เขียน –
Author:
ณรงศ์ฤทธิ์ ดาโลกา, จิตรมนัส มาดีประเสริฐ, ณัฐวุฒิ หมื่นนะ
Narongrit Daloka, Jitmanut madeeprasert, Natthawut Muenna
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย – Dr. Chanchai Wiroonritichai
ชื่อปริญญา –
Degree:
วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) – B. Eng. (Mechanical Engineering)
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
คณะวิชา –
Faculty:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล – Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
3/2565 (2022)

บทคัดย่อ

อาคารสำนักงานใน โครงการ ปัญญ์ มีระยะห่างจากใต้ท้องคานถึงเสาฝ้าสำหรับการเดินท่อไม่มากนัก การเลือกใช้ท่อลมกลมเพื่อส่งลมปริมาณมาก จึงไม่เหมาะสมเพราะไม่อาจซ่อนตัวท่อลมไว้เหนือฝ้าได้ทั้งหมด จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นท่อลมรูปสี่เหลี่ยม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการออกแบบท่อส่งลมเย็นในห้องสำนักงาน โดยเลือกใช้ขนาดหัวจ่ายลมเย็นและขนาดหัวจ่ายลมกลับและคำนวณปริมาณสังกะสีให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในงานปรับอากาศ ภายในห้องสำนักงาน โดยใช้วิธีความเสียดทานเท่ากันในการออกแบบ

ผลการคำนวณในส่วนการออกแบบใหม่ และแบบหน้างาน นั้นขนาดท่อลมไม่แตกต่างกันมาก และค่าความดันสูญเสียความเสียดทานจากการคำนวณนั้นใกล้เคียงกัน โดยทำการเลือกใช้หัวจ่ายลมเย็นขนาด 14in × 14in และหัวจ่ายลมกลับขนาด 30in × 24in และปริมาณสังกะสีเบอร์ 24 ที่ใช้ในการออกแบบเท่ากับ 305.39 ft2 เปรียบเทียบกับในแบบหน้างานเท่ากับ 333.54 ft2

คำสำคัญ: ท่อส่งลมเย็น, ขนาดหัวจ่ายลมเย็นและหัวจ่ายลมกลับ, ปริมาณสังกะสี


Abstract

The Punn Project office building does not have much space between the bottom of the beam and the ceiling column for duct installation. Spiral ducts should not be used for large amounts of air transportation and they cannot be concealed above the ceiling. It is also necessary to change from spiral ducts to rectangle ducts. This study was carried out to design a supply air duct for office rooms based on the size of the supply air grille and fresh air grille, and the calculation of the quantity of galvanized iron suitable for the air conditioning work within the office rooms using an equal friction method as a design method.

Referring to the redesign and the redesign and the building site plan, it was discovered that the computed friction loss pressure values were comparable and that the duct sizes were not significantly different from each other. The dimensions of the supply and fresh air grilles were 14in × 14in and 30in × 24in, respectively. The quantity of 24-in galvanized iron utilized in the design was 305.39 ft2, whereas the amount used for the building site plan was 333.54 ft2.

คำสำคัญ: air duct, air grille, galvanized iron